วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ม.๔-๖ หน่วยที่ ๒ เทียบเสียง สำเนียงภาษา

๒.เทียบเสียง สำเนียงภาษา

เทียบเสียง สำเนียงภาษาเป็นหน่วยการเรียนที่มีเนื้อหาในเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบเกี่ยวกับดนตรีในด้านต่าง ๆ ระหว่างไทยกับสากล โดยเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะความเหมือนหรือต่างในด้านรูปแบบของบทเพลง เครื่องดนตรี รวมถึงรูปแบบการผสมวงประเภทต่างๆ

สาระการเรียนรู้
อิทธิพลดนตรีตะวันตกกับสังคมไทย
ประเภทของเพลงไทยและเพลงสากล
การเปรียบเทียบเครื่องดนตรีไทยและสากล
ประเภทของวงดนตรีไทยและสากล

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมดนตรีไทยและตะวันตกกับสังคมไทยได้
อธิบายประเภทของเพลงไทยและเพลงสากลได้
วิเคราะห์และเปรียบเทียบความเหมือนหรือต่างระหว่างเครื่องดนตรีไทยกับสากลได้
๔ อธิบายลักษณะประเภทของวงดนตรีไทยและสากลได้

  
อิทธิพลดนตรีตะวันตกกับสังคมไทย

                วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิต พฤติกรรม และแนวทางการปฏิบัติของผู้คนในสังคม ที่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน เป็นแนวทางเฉพาะของสังคมนั้นๆ ที่มีความลงตัว เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์และความสงบสุขกับผู้คนในสังคมโดยเป็นการถายทอดจากบุคคลไปสู่บุคคล และจากชุมชนไปสู่อีกชุมชน การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมย่อมต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของมนุษย์ ทั้งในครอบครัวเดียวกัน ระหว่างครอบครัว ระหว่างหมู่บ้าน ตำบลท้องถิ่น และระหว่างประเทศ
                วัฒนธรรมดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในวัฒนธรรมตนตรีไทยและสังคมไทยตั้งแตสมัยอยุธยา เนื่องจากมีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากันของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะผู้คนที่เดินทางมาจากแถบตะวันตก ในอดีตการติดต่อสื่อสารด้วยภาษาค่อนข้างลำบาก สิ่งเดียวที่สามารถติดต่อสื่อสารกันโดยไม่ต้องแปล นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าดนตรี นักดนตรีไทยในอดีตได้นำดนตรีตางวัฒนธรรมเหล่านั้นมาดัดแปลงให้เข้ากับดนตรีไทย ด้วยการผสมผสานกลิ่นอายของดนตรีตะวันตก แต่ยังคงรูปแบบดนตรีไทยไว้อย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เพลงภาษาต่างๆ ตลอดจนการนำเครื่องดนตรีตะวันตกบางชนิดมาผสมผสานบรรเลงร่วมกับดนตรีไทยในรูปแบบไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของไทยดังจะเห็นได้จากการนำชื่อเครืองดนตรีและชาติเหล่านั้นมาตั้งเป็นชื่อของบทเพลงต่างๆ เช่น ฝรั่งรำเท้าหรือกลองมริกัน
                ในสมัยโบราณการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากระบบการติดต่อสื่อสารและการคมนาคมไม่ค่อยสะดวก ต่อเมื่อระบบการสื่อสารได้มีการพัฒนาขึ้น จนกระทั่งในปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีในการสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารผ่านดาวเทืยม ทำให้มนุษย์ทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็ว เช่นเดียวกับการถ่ายโยงในเรื่องของวัฒนธรรมทางดนตรีโดยเฉพาะดนตรีตะวันตกที่ปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญจนกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีเพื่อความบันเทิง ดนตรีเพื่อธุรกิจ ดนตรีเพื่อการศึกษา เป็นต้นซึ่งดนตรีทีมีบทบาทในสังคมไทยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ดนตรีคลาสสิก (Classical Music)และดนตรีสมัยนิยม (Popular Music)
                ดนตรีคลาสสิก คือ ดนตรีทีมีแบบฉบับที่สมบูรณ์ ทั้งเรื่องของเนื้อหาและการปฏิบัติ มีรูปแบบที่แน่นอน มีคุณค่าควรแก่การส่งเสริมและรักษา สำหรับดนตรีคลาสสิกนี้นอกจากจะเป็นดนตรีเพื่อความบันเทิงแล้วยังเป็นดนตรีเพื่อการศึกษาอีกด้วย ส่วนดนตรีสมัยนิยมหรือที่เรียกว่า ป๊อปปูลาร์มิวสิก เป็นดนตรีที่เน้นเพื่อความบันเทิง และธุรกิจเป็นหลัก ดนตรีประเภทนี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่ตลอดเวลาตามความนิยมของคนในสังคมต่างๆ รวมทั้งสังคมไทยด้วย
สำหรับในบทเรียนเล่มนี้เมื่อพูดถึงดนตรีสากลก็จะเน้นในเรื่องของดนตรีคลาสสิกเป็นหลักรวมถึงบทเพลงสากลต่างๆ ด้วย


ประเภทของเพลงไทยและเพลงสากล

ประเภทของเพลงไทย
                เพลงไทยนับได้ว่ามีความสัมพันธ์ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่ในอดีต แม้ว่าในปัจจุบันวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในแบบแผนปัจจุบันก็ตามที ถึงกระนั้นดนตรีไทยก็ยังเป็นสิ่งที่หาฟังได้ไม่ยากนัก เช่นในพิธีไหว้ครูที่มักจะมีการบรรเลงเพลงสาธุการ หรือในการแสดงโขน ละครก็ยังคงจำเป็นต้องมีดนตรีไทยเข้ามาบรรเลงประกอบด้วยเสมอ ซึ่งลักษณะเพลงที่ใช้บรรเลงมีหลายลักษณะ สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
(๑) เพลงประเภทบรรเลง คือ เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงล้วนๆ ไม่มีการขับร้องประกอบเพลงประเภทนี้นับเป็นเพลงที่นักดนตรีมีความเป็นอิสระในการบรรเลงมากที่สุด เพราะไม่ต้องคำนึงถึงระดับเสียงของผ้ขับร้อง การสวมร้อง และการส่งร้อง ได้แก่
๑.๑ เพลงโหมโรง คือ เพลงที่ใช้ประโคมเบิกโรง หรือเพลงที่เล่นนำก่อนแสดงจริง เพื่อบอกให้ชาวบ้านรู้ว่าที่นี้เขาจะมีอะไรกัน นอกจากนั้นยังเป็นการอัญเชิญเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาชุมนุมเพี่อเป็นสิริมงคล
                ๑.๒ เพลงหน้าพาทย์ คือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอากัปกริยาตัวโขน ละคร หรืออัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี เทวดา และคูรอาจารย์ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้คูรและพิธีที่เป็นมงคล เพลงหน้าพาทย์ใช้กับกิริยาต่อไปนี้
                การร่ายเวทมนตร์คาถา และแปลงตัว
การแผลงฤทธิ์
๓ การจัดทัพและยกทัพ
การไปมาหรือเดินทาง
๑.๓ เพลงเรื่อง คือ การนำเพลงหลายเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เป็นชุด
.๔ เพลงหางเครื่อง คือ เพลงที่ออกต่อท้ายเพลงใหม่อีกทีหนึ่ง เช่น เพลงเขมรโพธิสัตว์(เถาจบแล้วก็ออกเพลงชุดต่างๆ ถ้าเพลงใหม่มีลักษณะสำเนียงอย่างไรก็ออกอย่างนั้นต้องสัมพันธ์กันถ้าเพลงใหญ่สนุก เพลงหางเครื่องก็สนุกด้วย จุดประสงค์ในการเล่นเพลงหางเครื่องคือยืดเวลาบรรเลงและยังเป็นการแสดงความสามารถของผู้เล่นอีกด้วย

(๒) เพลงประเภทรับ-ร้อง คือ เพลงที่นิยมนำมาขับร้องประกอบดนตรีตามแบบฉบับขของเพลงไทย มีลักษณะที่มีคนร้องแล้วมีดนตรีรับหรือร้องคลอไปกับดนตรี ได้แก่
๒.๑ เพลงเถา คือ เพลงเดียวกันที่บรรเลงติดต่อกันตั้งแต่สามชั้นถึงชั้นเดียว หรือตั้งแต่ชั้นเดียวถึงสามชั้น เนื้อเพลงที่นำมาร้องต้องสัมพันธ์กับจังหวะด้วย
.๒ เพลงสามชั้น เป็นเพลงที่ยืดขยายมาจากเพลงในอัตราสองชั้นอีกเท่าตัวโดยยึดหลักการยืดขยายจากชั้นเดียวมาเป็นสองชั้น
                ๒.๓ เพลงสองชั้น เป็นเพลงที่ยืดขยายมาจากเพลงพั้เดียวอีกเท่าตัว เช่น เพลงพั้เดียวมี ๒ ห้อง เพลงสองชั้นต้องมี ๔ ห้อง
๒.๔ เพลงชั้นเดียว เป็นเพลงที่มีประโยคสั้นที่สุด เป็นของที่มาแต่ดั้งเดิม โดยมากเป็นพวกเพลงเร็ว และเพลงฉิ่งต่างๆ นอกนั้นได้แก่เพลงสองชั้นที่ตัดลงมาเป็นชั้นเดียว
.๕ เพลงตับ คือ เพลงชุดที่ใช้เพลงหลายเพลงมารวมกัน แบ่งเป็น
* ตับเรื่อง คือ เพลงที่เรียบเรียงขึ้นจากเพลงหลายเพลงโดยเอาเนื้อร้องของแต่ละเพลงที่นำมาเรียงแล้วได้เป็นเรื่องราวคล้องจองกัน
* ตับเพลง คือ เพลงที่เรียบเรียงขึ้นโดยใช้ทำนองเป็นหลักและทำนองเหล่านี้อยู่ในลักษณะอย่างเดียวกัน
เพลงเกร็ด คือ เพลงที่มิได้เรียบเรียงเข้าเป็นชุดตางๆ ดังกล่าว แต่จะนำเพลงจากชุดต่างๆมาเป็นเพลงเกร็ดก็ได้ เพลงชนิดนี้มิได้สำหรับบรรเลงในเวลาสั้นๆ เพลงเกร็ดส่วนมากมักมีบทร้องที่กินใจหรือทำนองที่ตื่นเต้น สนุกสนาน


ประเภทของเพลงสากล
บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นอย่างมีแบบแผนในดนตรีตะวันตกนั้นเรียกว่า “ดนตรีคลาสสิก” ซึ่งหมายถึง ดนตรีที่อาศัยเค้าโครงของดนตรีที่วิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยองค์ประกอบของดนตรีที่สูงสุดของแนวทำนอง การประสานเสียง สีสันของเครื่องดนตรี รูปแบบโครงสร้าง และการถายทอดอารมณ์ ซึ่งคีตกวีประพันธ์ขึ้นด้วยความประณีต
                ดนตรีคลาสสิก มีหลายประเภทด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท เช่นเดียวกับดนตรีไทย คือ
(๑) ดนตรีประเภทบรรเลง หมายถึง บทเพลงที่ใช้เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บรรเลงเป็นหลักโดยผู้ประพันธ์จะใช้ความรู้สึกและจ็นตนาการถ่ายทอดออกมาเป็นเสียงดนตรีในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งชนิดของเพลงบรรเลงออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
                ๑.๑ ซิมโฟนี (symphony) คือ บทเพลงที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งประพันธ์ขึ้นอย่างมีแบบแผนเพื่อใช้สาหรับวงออร์เคสตราซึ่งเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ บทเพลงซิมโฟนีประกอบด้วย ๓-๔ ท่อน(Movement) โดยในแต่ละท่อนจะมีการจัดรูปแบบของความเร็วของอัตราจังหวะดังนี้
                ท่อนที่ ๑ (fist movement) เป็นบทนำของเพลงมักจะมีความยาวมากที่สุด มีลักษณะของความลึกซึ้งและสลับซับซ้อน ใช้ความเร็วในลักษณะของอัลเลโกร (allegro) ซึ่งหมายถึงเร็ว
ท่อนที่ ๒ (second movement) โดยทั่วไปมีลักษณะช้า เป็นการนำทำนองหลัก (theme)มาพัฒนา ใช้ลักษณะอาดาจิโอ (adagio) หรือลาร์โกน(largo) คือช้าหรือช้ามาก

ท่อนที่ ๓ (third movement) เป็นท่อนที่มีลักษณะไพเราะ ผ่อนคลาย โครงสร้างมักจะเป็นจังหวะเต้นรำมินูเอ็ต (minuet) มีการซ้ำทวนของทำนองต่าง ๆ มากที่สุด ลักษณะความเร็วเปนแบบสนุกสนาน คือ อัลเลโกร (allegro) อัลเลเกรตโต (allegretto) หรือวีวาเซ (vivace)
ท่อนที่ ๔ (fourth movement) มักมีท่วงทำนองที่เร็ว บางครั้งเป็นลีลาทีแปรผันนาจากทำนองหลัก Theme) มีลักษณะเร็วเร้าใจแบบอัลเลโกร (allegro) หรืออัลเลเกรตโต (allegretto) และวีราเซ(vivace)
                ๑.๒ คอนเชอร์โต (concerto) คอนเชอร์โตเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึงการประชันหรือต่อสู้กัน ในความหมายทางดนตรีจะหมายถืง การประชันกันระหว่างเครื่องดนตรีเดียวกับวงออร์เคสตรา บทเพลงคอนเชอร์โตเป็นประเภทของบทเพลงที่ประกอบด้วยกัน ๓ ท่อน (movement) คือท่อนที่ ๑ (first movement) เป็นบทนำของเพลง ความเร็วจังหวะมีลักษณะเร็วแบบอัลเลโกร (allegro)
                ท่อนที่ ๒ (second movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้า เป็นการนำทำนองหลักมาพัฒนา มีลักษณะช้าแบบแอนแดนต์เต้ (andante) อาดาจโอ (adagio) หรือลาร์โก (largo)ท่อนที่ ๓ (third movement) มีลักษณะเร็วแบบสนุกสนานแบบอัลเลโกร (allegro) อัลเลเกรดโต (allegretto) หรือวีวาเช (vivace)
                ๑.๓ โซนาตา (sonata) โซนาตาเป็นค่าในภาษาอิตาลี หมายถึง “ฟัง” จัดเป็นบทเพลงทีมีความสำคัญและมีบทบาทตลอดมาตั้งแต่สมัยบาโรกจนถึงปัจจุบัน โซนาตามีอยู่ ๒ ลักษณะ คือโซนาตาที่บรรเลงเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีเล็กๆ ซึ่งเป็นโซนาตาแบบหนึ่งในสมัยบาโรก และโซนาตาที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีชนิดเดียวหรือ ๒ ชนิด แต่เน้นการแสดงออกของเครื่องดนตรีเพียงชนิดเดียว โดยมีเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งเล่นคลอให้บทเพลงสมบูรณ์ขึ้นซึ่งอาจเรียกว่าโซโลโซนาตาได้ โซนาตาในลักษณะนี้เป็นความหมายของโซนาตาที่ใช้กันตั้งแต่ยุคคลาสสิกจนถึงปัจจุบัน
                ๑.๔ โอเวอร์เชอร์ (overture) คือ บทเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วนๆ ใช้เป็นเพลงนำก่อนจะมีการแสดงละครโอเปรา ซึ่งในภาษาไทยเรียกว่า “เพลงโหมโรง” เพลงโอเวอร์เชอร์อาจเป็นเพลงที่แสดงถึงบรรยากาศหรืออารมณ์ของโอเปราที่จะแสดง กล่าวคือ ถ้าโอเปราเป็นเรื่องเศร้าโอเวอร์เชอร์จะมีทำนองที่เศร้า เพลงโอเวอร์เชอร์มักจะเป็นเพลงสั้นๆ มีความยาวประมาณ ๔-๘ นาทีโดยทั่วไปโอเวอร์เชอร์มักจะเป็นการรวมทำนองหลักของโอเปราในฉากต่างๆ
(๒) ดนตรีประเภทขับร้อง เราอาจกล่าวได้ว่าเสียงของมนุษย์คือเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ธรรมชาติมอบให้เพื่อใช้สื่อสาร แสดงความรู้สึกต่างๆ รวมถึงการใช้เสียงเพื่อร้องเพลง ทั้งหมดล้วนมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันคือ “เส้นเสียง” เส้นเสียงของมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย อย่างไรก็ตามเราสามารถแบ่งดนตรีประเภทขับร้องออกได้หลายประเภท ดังนี้
                .๑ แชนต์ (chants) เป็นเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์เรียกว่า เพลงสวดเป็นการขับร้องล้วนๆ ไม่มีดนตรีประกอบ ใช้ขับร้องเพื่อสรรเสรญสดุดี และขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าลักษณะของเพลงมีทั้งการใช้คำร้อง ๑ พยางค์ต่อเสียง ๑ เสียง หรือ ๒ เสียง หรือใช้คำร้อง ๑ พยางค์ต่อเสียง๒ ถึง ๔ เสียงคล้ายลักษณะของการเอื้อนยาวๆ
๒.๒ ออร์กานุม (organ um) เป็นบทเพลงศาสนา มีลักษณะการร้องประสานเสียงแบบโพลีโฟนิก (polyphonic style) ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการร้องประสานเสียงครั้งแรกในดนตรีตะวันตก คือ การใช้ทำนองเพลงสอดประสานในระหว่างทำนองเพลงด้วยกันเอง ทำให้เกิดเสียงประสานขึ้น การขับร้องประกอบด้วยแนวทำนองหลัก ๒ แนว โดยผู้น้องทั้ง ๒ แถวจะขับร้องกันคนละแนว แต่การร้องจะดำเนินไปในเวลาเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบ
                .๓ โมเท็ต (motet) เป็นเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกเกิดขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ ๑๓ มีลักษณะเป็นเพลงขับร้องเสียง ๓ แนว นักประพันธ์เพลงมักจะแต่งบทประพันธ์ที่เสริมแต่งประดับประดาเกรกอเรียนแชนต์ (Gregorian chant) โดยเขียนเป็นแนวต่ำสุดส่วนแนวบนอีก ๒ แถวเป็นทำนองเพลงทีมีอิสระต่างจากแนวต่ำสุดที่ร้องเป็นภาษาละตินและร้องเป็นภาษาฝรั่งเศส โมเท็ตจึงเป็นเพลงขับร้องที่มีอิสระทั้งทำนองเพลง จังหวะ ภาษา และเนื้อร้อง
                ๒.๔ ออราทอริโอ (oratorio) คือบทเพลงทีประกอบไปด้วยการร้องเดี่ยวของนักร้องระดับเสียงต่างๆ ประกอบการร้องของวงประสานเสียง และการบรรเลงของวงออร์เคสตรา เนื้อร้องเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ ลักษณะของออราทอริโอคล้ายกับการร้องโอเปราเพียงแต่ไม่มีการแสดงประกอบ ออราทอริโอเป็นเพลงที่มีความยาวมาก ในบางบทถ้าแสดงโดยสมบูรณ์อาจมีความยาวถึง ๔-๖ชั่วโมง ในปัจจุบันการแสดงเพลงประเภทนี้จึงมีการตัตเพลงบางท่อนออกไปเพื่อลดเวลาการแสดงให้เหมาะสมกับโอกาส
                ๒.๕ กันตาตา (cantata) คือบทประพันธ์ประเภทเพลงร้องที่นิยมประพันธ์กันในสมัยบาโรก ประกอบไปด้วยเพลงร้องที่มีหลายท่อน ได้แก่ การร้องเดี่ยว การร้องคู่ การร้องในลักษณะของการพูด และการร้องประสานเสียง บทร้องมีทั้งเกี่ยวข้องกับศาสนาและเรื่องทั่วๆ ไป
.๖ แมสส์ (mass) คือบทเพลงสวดของชาวโรมันคาทอลิก มีพิธีสวดเรียกว่าพิธีแมสส์หรือพิธีมิสซา เป็นพิธีสวดมนด์ในพิธีถวายมหาบูชาแก่พระผู้เป็นเจ้า ตลอดจนรวมไปถึงการเทศน์ของบาทหลวงด้วย แมสส์เป็นเพลงขับร้องประสานเสียงชั้นสูงที่คีตกวีแต่งทำนองร้องประสานเสียง โดยมีเนื้อร้องเป็นบทสวดภาษาละติน ๕ บทด้วยกัน โดยเริ่มจากบท Kyrie “Lord have mercy” Gloria, Credo,Sanctus และ Agnus Dei และในบางตอนของเพลงแมสส์มีการขับร้องเดี่ยว หรือเดี่ยวประกอบการประสานเสียงเพลงมิสซา


การเปรียบเทียบเครื่องดนตรีไทยและสากล

เครื่องดนตรีไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีของชนชาติใดล้วนมืลักษณะการเล่นที่ค่อนข้างเหมือนกันในบทเรียนนี้จะขอเปรียบเทียบเฉพาะเครื่องดนตรีไทยกับเครื่องดนตรีที่เป็นสากล ทั้งนี้เครื่องดนตรีที่เกิดจากวัฒนธรรมที่ต่างกันอาจมีบางส่วนที่เหมือนหรือต่างกันซึ่งจากการวิเคราะห์แล้วสามารถเปรียบเทียบได้ตามลักษณะดังนี้
ตารางเปรียบเทียบเครื่องดนตรีไทยกับสากลตามลักษณะการกำเนิดเสียง
ลักษณะการกำเนิดเสียง
เครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีสากล
ดีด
- กระจับปี่ จะเข้
กีตาร์ ฮาร์พ
สี
- ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้
ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส
ตี
ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่
ฉิ่ง ฉาบ ฆ้องโหม่ง กรับ ตะโพน กลองทัด
โทน รำมะนา กลองแขก กลองสองหน้า
ไวบราโฟน ไซโลโฟน ทิมพานี กล็อกเคลสปีล สแนร์ดรัม เบสดรัม บองโก คองกา ฉาบ
เป่า
ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยอู้ ปี่นอก
ปี่ใน ปี่กลาง ปี่มอญ ปี่ชวา แคน
แตรงอน แตรสังข์
ปิกโกโล ฟลูต โอโบ คลาริเน็ต
บาสซูน แซกโซโฟน ทรัมเป็ต คอร์เน็ต ทรอมโบน เฟรนช์ฮอร์น ยูโฟเนียม ทูบา ซูซาโฟน

ตารางเปรียบเทียบเครีองดนตรีไทยกับสากลตามหมวดหมู่แบบสากล
ประเภทเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีสากล
เครื่องสาย
- สี
- ดีด

- ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ สะล้อ
- กระจับปี่ จะเข้ พิณเพียะ ซึง

- ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส
กีตาร์ ฮาร์พ
เครื่องลมไม้
ไม่มีลิ้น
ลิ้นเดี่ยว
ลิ้นคู่

ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ่ ขลุ่ยอู้
ปี่อ้อ ปี่ชวา
ปี่นอก ปี่กลาง ปี่ใน ปี่มอญ ปี่ชวา ปี่ไฉน

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปิกโกโล ฟลูต
คลาริเน็ต แซกโซโฟน
- โอโบ อิงลิชฮอร์น บาสซูน
เครื่อง ลม ทองเหลือง
แตรฝรั่ง แตรงอน แตรสังข์
- ทรัมเป็ต คอร์เน็ต ทรอมโบน เฟรนช์ฮอร์น ยูโฟเนียม ทูบา ซูซาโฟน
เครื่องกระทบ
แบบมีระดับเสียง

แบบไม่มีระดับ
เสียง

- ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมอญ
ฉิ่งไ ฉาบ กรับ โหม่ง กลองทัด ตะโพน โทน รำมะนาร กลองแขก กลองสองหน้า กลองชนะ

- ไวบราโฟน ไซโลโฟน ทิมพานี


- สแนร์ดรัม เบสดรัม ไทรแองเกิล บองโก คองกา ฉาบ


ประเภทของวงดนตรีไทยและสากล

วงดนตรีไทย
                การประสมวงดนตรีไทยนั้นมีวิธีการประสมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยการจัดวงแต่ละประเภทคำนึงถึงความเหมาะสมกลมกลืนของเสียงเครื่องดนตรีที่นำมารวมกัน โดยเน้นที่ระดับความดัง-เบาที่ใกล้เคียงกัน เช่น นำขล่ยซึ่งมีระดับเสียงที่เบามาบรรเลงรวมกับซออู้ หรือนำปี่ที่มีเสียงดังมาบรรเลงรวมกับระนาดเอกที่ตีด้วยไม้แข็ง ในปัจจุบันได้มีการจัดประเภทของวงดนตรีไทยแบบมาตราฐานอยู่
๓ ประเภท คือ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ และวงมโหรี

วงเครื่องสาย
                วงเครื่องสาย ในดนตรีไทยประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก และมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าเป็นส่วนประกอบ เครื่องประกอบจังหวะประเภทเครื่องหนังใช้โทน รำมะนาบรรเลงจังหวะหน้าทับ โดยมีฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่งร่วมบรรเลงประกอบจังหวะด้วย สำหรับวงเครื่องสายเหมาะสำหรับการบรรเลงในห้องหรือในอาคาร นิยมบรรเลงในงานมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสงานเลี้ยงสังสรรค์ วงเครื่องสายแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ วงเครื่องสายไทย วงเครื่องสายผสม และวงเครื่องสายปี่ชวา
                (๑) วงเครื่องสายไทย มักเรียกสั้นๆ ว่า “วงเครื่องสาย” มีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายคู่
.๑ วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสาย และเครื่องเป่าอย่างละหนึ่งเครื่อง ดังนี้
- จะเข้ ๑ ตัว
- ซอด้วง ๑ คัน
- ซออู้ ๑ คัน
- ขลุ่ย ๑ เลา
- โทน-รามะนา ๑ คู่
- ฉิ่ง ๑ คู่
                ๑.๒ วงเครื่องสายคู่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายเป็นหลักโดยเพิ่มจานวน
ของเครื่องดนตรีจำพวกที่ทำทำนองจากเครื่องละหนึ่งเป็นสอง ดังนี้
- จะเข้ ๒ ตัว
- ซอด้วง ๒ คัน
- ซออู้ ๒ คัน
- ขลุ่ย ๒ เลา
- ฉาบ ๑ คู่
- กรับ ๑ คู่
- โหม่ง ๑
- โทน-รำมะนา ๑ คู่

                (๒) วงเครื่องสายผสม เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยทุกประเภทแต่นำเอาเครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือจากเครื่องสายไทยมาผสม เช่น ขิม ออร์แกน ถ้านำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่า วงเครื่องสายผสมขิม หากนำออร์แกนมาร่วมบรรเลงก็จะเรียกวงเครื่องสายผสมออร์แกน
                (๓) วงเครื่องสายปี่ชวา เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลักแต่นำปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียงออ คงเหลือไว้แต่ขลุ่ยหลีบซึ่งมีเสียงสูง เครื่องหนังซึ่งใช้บรรเลงจังหวะหน้าทับในวงเครื่องสายทั่วไป เช่น โทน รำมะนา มีเสียงเบา ไม่เหมาะกับปี่ชวาซึ่งมีเสียงดังมากจึงเปลี่ยนมาใช้กลองแขกแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก และวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่

                .๑ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
- ปี่ชวา ๑ เลา
- ขลุ่ยหลีบ ๑ เลา
- ซอด้วง ๑ คัน
- ซออู้ ๑ คัน
- จะเข้ ๑ ตัว
- กลองแขก ๑ คู่

                ๓.๒ วงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กเป็นหลักโดยเพิ่มเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายให้เป็นสองหรือคู่ ดังนี้
- ปี่ชวา ๑ เลา
- ขลุยหลีบ ๑ เลา
- ซอด้วง ๒ คัน
- ซออู้ ๒ คัน
- จะเข้ ๒ ตัว
- กลองแขก ๑ คู่
- ฉิ่ง ๑ คู่
- ฉาบ กรับ โหม่ง

วงปี่พาทย์
                วงปี่พาทย์ เป็นรูปแบบของการประสมวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ และเครื่องตีได้แก่ ระนาดและฆ้อง ในการบรรเลงฆ้องจะทำหน้าที่เดินทำนองหลักของเพลง ในขณะที่เครื่องทำทำนองอื่นๆ ทำหน้าที่แปรทำนองลูกฆ้องให้เป็นทางเฉพาะตามความเหมาะสมกับเครื่องดนตรีนั้นๆโดยมีเครื่องตีประกอบจังหวะ เช่น กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง บรรเลงประกอบ วงดนตรีประเภทนี้นับได้ว่ามีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมากเกือบทุกขั้นตอนของชีวิต ตั้งแต่โกนจุก ทำบุญในเทศกาลต่างๆ บวชนาค พิธีศพ ไปตลอดจนถึงการบรรเลงประกอบการแสดงต่างๆ เช่นโขน ละคร ลิเกการประสมวงปี่พาทย์ที่นิยมบรรเลงอยู่ในปัจจุบันมี ๖ รูปแบบ คือ วงปี่พาทย์ชาตรี วงปี่พาทย์ไม้แข็งวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และวงปี่พาทย์มอญ
                (๑) วงปี่พาทย์ชาตรี การประสมวงดนตรีชนิดนี้เริ่มปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีชื่อเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าวงปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา ทั้งนี้คงเนื่องมาจากการพิจารณาตามขนาดและน้ำหนักของเครื่องดนตรีทีมีขนาดเล็กและเบานั่นเอง วงดนตรีประเภทนี้นิยมบรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี จึงมีชื่อเรียกวงดนตรีตามรูปแบบของการแสดงละครชาตรี วงปี่พาทย์ชาตรีประกอบไปต้วย
เครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้
- ปี่นอก ๑ เลา
- กลองตุ๊ก ๑ ใบ
- ทับ(โทนชาตรี) ๑ คู่
- ฆ้องคู่ ๑ ชุด
- ฉิ่ง ๑ คู่

                (๒) วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงดนตรีที่ใช้ในโอกาสต่างๆ เช่น งานพระราชพิธี พิธีกรรมทางศาสนา งานตางๆ และประกอบการแสดงโขน ละคร เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีประเภทนี้จะมีเสียงดังเนื่องจากบรรเลงด้วยไม้ตีชนิดแข็ง จึงเรียกชื่อวงดนตรีชนิดนี้ว่า ปี่พาทยม้แข็ง ตามลักษณะของไม้ที่ใช้บรรเลง ลักษณะของเพลงที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็งจึงมีความหนักแน่น สง่าผ่าเผย คล่องแคล่วและสนุกครึกครื้น วงปี่พาทย์ไม้แข็งสามารถเเบ่งตามขนาดของความเล็ก-ใหญ่ได้ ๓ ขนาด คือวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ และวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่
                ๒.๑ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีอย่างละหนึ่งหน่วยจำนวน ๖ เครื่อง สาเหตุที่เรียกเครื่องห้าอาจเป็นเพราะตะโพนและกลองทัดจัดเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องหนังหรือกลองทั้งคู่ จึงนับจำนวนหน่วยเป็นหนึ่ง วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้
- ปี่ใน ๑ เลา
- ระนาดเอก ๑ ราง
- ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง
- ตะโพน ๑ ใบ
- กลองทัด ๑ คู่
- ฉิ่ง ๑ คู่

.๒ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ วงปี่พาทย์ชนิดนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีการประดิษฐ์คิดสร้างระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเพื่อบรรเลงคู่กับระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ในสมัยนี้สาเหตุที่วงปี่พาทย์ไม้แข็งชนิดนี้ถูกเรียกว่าเครื่องคู่นั้น คงเนื่องมาจากรูปแบบของการประสมวงที่กำหนดจำนวนเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงทำนองให้เป็นอย่างละสองเครื่องหรือเป็นคู่ กล่าวคือปี่ ๑ คู่ ระนาด ๑ คู่ และฆ้องวง ๑ คู่ สำหรับเครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ประกอบไปด้วย  
- ปี่ใน ๑ เลา
- ปี่นอก ๑ เลา
- ระนาดเอก ๑ ราง
- ระนาดทุ้ม ๑ ราง
- ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง
- ฆ้องวงเล็ก ๑ วง
- ตะโพน ๑ ใบ
- กลองทัด ๑ คู่
- ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม

                ๒.๓ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ วงปี่พาทย์นี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เนื่องจากมีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็กเเละระนาดทุ้มเหล็กขึ้นในสมัยนี้ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่เป็นหลัก โดยเพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กอีก ๒ ราง ระนาดเหล็กทั้ง ๒ รางนี้มักเรียกกันว่า “หัว-ท้าย” ทั้งนี้คงเนื่องมาจากระเบียบการจัดวงที่เครื่องดนตรีทั้งสองนี้ถูกกำหนดตำแหน่งให้อยู่ด้านหัวและท้ายของวงนั่นเอง วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
- ปี่ใน ๑ เลา
- ปี่นอก ๑ เลา
- ระนาดเอก ๑ ราง
- ระนาดทุ้ม ๑ ราง
- ระนาดเอกเหล็ก ๑ ราง
- ระนาดทุ้มเหล็ก ๑ ราง
- ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง
- ฆ้องวงเล็ก ๑ วง
- ตะโพน ๑ ใบ
- กลองทัด ๑ คู่
- ฉิ่ง ๑ คู่
- ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม

                วงปื่พาทย์ไม้แข็งทั้ง ๓ ขนาด ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น วัตถุประสงค์หลักของการรวมวงจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเลงประกอบพิธีกรรมและการแสดงโขน ละคร เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในกรณีที่ต้องการบรรเลงเพื่อขับกล่อม วงดนตรีชนิดนี้จึงต้องปรับเปลี่ยนเอากลองทัดและตะโพนซึ่งมีเสียงดังออกไป และใช้กลองสองหน้าหรือกลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน ซึ่งก็จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวงปี่พาทย์ เสภา” ใช้ประกอบการบรรเลงร้อง-ส่ง ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
- ปี่ใน ๑ เลา
- ปี่นอก ๑ เลา
- ระนาดเอก ๑ ราง
- ระนาดทุ้ม ๑ ราง
- ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง
- ฆ้องวงเล็ก ๑ วง
- กลองสองหน้า ๑ ใบ
- ฉิ่ง ๑ คู่
- ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม

(๓) วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ใม้นวมเกิดขึ้นเพราะด้องการวงดนตรีที่มีเสียงไม่ดังจนเกินไปมีความนุ่มนวล จึงปรับแม้ที่ใช้บรรเลงระนาดเอกจากไม้แข็งเป็นไม้นวม คือไม้ตีจะพันผ้าและด้ายรัดหลายๆ รอบจนแน่น เมื่อใช้ตีจะมีเสียงนุ่มนวล เครื่องเป่าแต่เดิมเคยใช้ปี่ซึ่งมีเสียงที่ดังมากเปลี่ยนมาใช้ขลุ่ยเพียงออซึ่งให้เสียงที่เบาก่วา นอกจากนั้นยังเพิ่มซออู้เข้าไปอีก ๑ คัน ทั้งนี้เพื่อให้วงมีเสียงที่นุ่มนวลและกลมกล่อมมากขึ้นกว่าเดิม
                (๔) วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์ชนิดนี้มีรูปแบบคล้ายกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง แต่เมื่อนำมาประโคมศพมีการปรับเปลี่ยนเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนปี่ในและปี่นอก ใช้กลองมลายูแทนกลองทัดและตะโพน วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในพิธีศพเท่านั้น ในปัจจุบันวงดนตรีชนิดนี้หาโอกาสที่จะฟังได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากคนนิยมที่จะจัดหาปี่พาทย์มอญมาบรรเลงแทน สาเหตุที่เรียกปี่พาทย์นางหงส์เพราะใช้เพลงเรื่องนางหงส์สองชั้น เป็นหลักสำคัญในการบรรเลง
                (๕) วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงดนตรีชนิดนี้ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ซึ่งเป็นละครที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ด้ทรงปรับปรุงให้ละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ มีฉากเปลี่ยนไปตามเนื้อเรื่อง และตัวละครสามารถพูดเจรจาเองได้โดยไม่ต้องมีคนพากย์เสียงให้ ชื่อวงดนตรีเรียกตามชื่อโรงละครและชื่อการแสดงละครว่า “ดึกดำบรรพ์” เครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงปี่พาทย์ชนิดนี้ได้คัดเลือกเอาเฉพาะเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มต่ำนุ่มนวลซึ่งประกอบด้วย
- ระนาดเอก ๑ราง(ใช้ไม้นวม)
- ระนาดทุ้ม ๑ ราง
- ระนาดทุ้มเหล็ก ๑ ราง
- ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง
- ซออู้ ๑ คัน
- ขลุ่ยอู้ ๑ เลา
- ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา
- ฆ้องหุ่ย ๑ ชุด(๗ เสียง)
- ตะโพน ๑ ใบ
- กลองตะโพน ๑ ใบ
- กลองแขก ๑ คู่
- ฉิ่ง ๑ คู่
                (๖) วงปี่พาทย์มอญ วงปี่พาทย์มอญเป็นดนตรีที่ปัจจุบันนิยมใช้บรรเลงในงานศพ แต่เดิมทีเดียววงชนิดนี้บรรเลงกันเฉพาะในหมู่ของชาวไทยรามัญเท่านั้น บรรเลงทั้งในงานมงคล และอวมงคลทั่วไปลักษณะที่เด่นชัดของวงปี่พาทย์มอญจะมีระดับเสียงที่ทุ้มต่ำกังวานลึก เครื่องดนตรีที่มีลักษณะแตกต่างจากวงดนตรีชนิดอื่นอย่างเด่นชัด ได้แก่ เปิงมางคอก ปี่มอญ ตะโพนมอญ และฆ้องมอญ นอกเหนือจากนั้นล้วนมีอยู่ในวงปี่พาทย์ชนิดอื่นทั้งสิ้น วงดนตรีชนิดนี้แบ่งเป็น ๓ ขนาดเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งวงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่นับได้ว่าเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงปี่พาทย์มอญขนาดต่างๆ มีดังนี้

วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า
วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่
วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่
ฆ้องมอญวงใหญ่
-
-
-
ระนาดเอก
-
ปี่มอญ
เปิงมางคอก
ตะโพนมอญ
-
ฉิ่ง
-
ฆ้องมอญวงใหญ่
ฆ้องมอญวงเล็ก
-
-
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ปี่มอญ
เปิงมางคอก
ตะโพนมอญ
โหม่งราว
ฉิ่ง
ฉาบ
ฆ้องมอญวงใหญ่
ฆ้องมอญวงเล็ก
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ปี่มอญ
เปิงมางคอก
ตะโพนมอญ
โหม่งราว
ฉิ่ง
ฉาบ

วงมโหรี
วงมโหรี จัดเป็นวงดนตรีโบราณวงหนึ่งของไทยที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นของสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีพระราชกำหนดห้ามมิให้ผู้อื่นหัดละครผู้หญิง ยกเว้นละครที่เป็นของหลวงซึ่งรู้จักกันในนามละครใน ดังนั้นบรรดาเจ้าหน้าที่และขุนนางบางส่วนจึงให้บริวารผู้หญิงฝึกหัดมโหรีส่วนผู้ชายให้ฝึกหัดปี่พาทย์ บางส่วนก็ฝึกหัดละครชายล้วนซึ่งรู้จักในชื่อละครนอก ในช่วงระยะเวลาที่มโหรีนิยมบรรเลงแต่เฉพาะในหมู่ผู้หญิงนั้น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีทุกชนิด เช่น ระนาดเอกระนาดทุ้ม และฆ้องวง จะมีขนาดเล็กกว่าเครื่องตีในวงปี่พาทย์ที่นิยมเล่นในหมู่ผู้ชาย ทั้งนี้เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของผู้หญิง และคุณภาพของเสียงเมื่อต้องบรรเลงร่วมกับวงเครื่องสายเป็นเกณฑ์สำคัญ
                ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกเลิกพระราชกำหนดฉบับนั้น ยังผลให้บรรดาเจ้านายและขุนนางกลับมาฝึกหัดบริวารหญิงให้เป็นคณะละครขึ้นมาใหม่ วงมโหรีหญิงจึงเริ่มซบเซา ในช่วงเดียวกันนั้นมีผู้ชายบางกลุ่มเริ่มสนใจเครื่องสายและได้นำมาบรรเลงรวมกับเครื่องปี่พาทย์ที่พวกตนบรรเลงอยู่ก่อนแล้วจึงเกิดเป็นรูปแบบของการประสมวงแบบใหม่ซึ่งรู้จักกันในขณะนั้นว่า “วงมโหรีเครื่องสาย” ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ใช้เฉพาะผู้ชายบรรเลง ต่อมาภายหลังทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างก็เข้ามาบรรเลงร่วมกัน ในปัจจุบันจึงเรียกการประสมวงชนิดนี้ในภาพรวมว่า วงมโหรี
                ในด้านคุณลักษณะของเสียง วงมโหรีจัดเป็นการประสมวงที่มีความสมบูรณ์ในด้านเสียงกล่าวคือ เป็นการนำเครื่องดนตรีทำทานองของวงปี่พาทย์ที่มีเครื่องมือคือ ระนาดเอก ระนาดทุ้มระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ร่วมกับเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายที่มีเครื่องดีด คือ จะเข้ เครื่องสี คือ ซอด้วงและซออู้ เครื่องเป่า คือ ขลุ่ย ดังนั้นการนำวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายมารวมกัน จึงทำให้วงมโหรีเป็นการรวมกันของเครื่องดนตรีทุกประเภทคือ ดีด สี ตี เป่า
วงมโหรี แบ่งออกเป็น ๓ ขนาดเช่นเดียวกับการประสมวงปี่พาทย์ คือ วงมโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่ และวงมโหรีเครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงมโหรีขนาดต่างๆ มีดังนี้
วงมโหรีวงเล็ก
วงมโหรีเครื่องคู่
วงมโหรีอครื่องใหญ่
จะเข้
ซอสามสาย
ซอด้วง
ซออู้
ขลุ่ยเพียงออ
-
ระนาดเอก
-
-
-
ฆ้องวงใหญ่
-
โทน-รำมะนา
ฉิ่ง
ฉาบ
โหม่ง
จะเข้ ๒ ตัว
ซอสามสาย ๒ คัน
ซอด้วง ๒ คัน
ซออู้ ๒ คัน
ขลุ่ยเพียงออ
ขลุ่ยหลีบ
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
-
-
ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงเล็ก
โทน-รำมะนา
ฉิ่ง
ฉาบ
โหม่ง
จะเข้ ๒ ตัว
ซอสามสาย ๒ คัน
ซอด้วง ๒ คัน
ซออู้ ๒ คัน
ขลุ่ยเพียงออ
ขลุ่ยหลีบ
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก
ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงเล็ก
โทน-รำมะนา
ฉิ่ง
ฉาบ
โหม่ง


ตารางเปรียบเทียบการใช้เครื่องดนตรีในวงดนตรีไทยประเภทต่าง ๆ
เครื่องดนตรี
วงดนตรี
ดีด
สี
ตี
เป่า
เครื่องสาย
จะเข้
ซอด้วง
ซออู้
-
ขลุ่ยหลีบ
ขลุ่ยเพียงออ
ปี่พาทย์
-
-
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงใหญ่
ปี่ใน
ปี่นอก
มโหรี
จะเข้
ซอด้วง
ซออู้
ซอสามสาย
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงใหญ่
ขลุ่ยหลีบ
ขลุ่ยเพียงออ
  
วงดนตรีสากล
                ในการถ่ายทอดผลงานเพลงต่างๆ ที่นักประพันธ์หรือคีตกวีได้ใช้ความสามารถในการแต่งขึ้นนั้นบทเพลงต่างๆ ไม่สามารถเกิดเสียงขึ้นมาเองโดยปราศจากผู้เล่น หรือนักดนตรีได้ และบทเพลงต่างๆ ที่ถูกประพันธ์ขึ้นมานั้น ผู้ประพันธ์ย่อมตั้งจุดประสงค์แล้วว่าต้องการจะให้บทเพลงออกมาในลักษณะใดเสียงเป็นแบบใด นอกจากการเลือกใช้เครื่องดนตรีประเภทต่างๆ แล้ว รูปแบบของการประสมวงในลักษณะต่างๆ ก็จะทำให้บทเพลงเกิดสีสันที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการประสมวงดนตรีสากลหรือดนตรีตะวันตกนั้นจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์และการใช้งาน ซึ่งวงดนตรีสากลสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ วงออร์เคสตรา (orchestra) และวงแบนด์ (band)
                (๑) วงออร์เคสตรา (orchestra)
ออร์เคสตรา เป็นคำในสมัยโบราณหมายถึง บริเวณที่อยู่ตอนหน้าเวทีของโรงละครกรีก สำหรับจัดเป็นที่ของนักดนตรีและนักร้องในปัจจุบันได้ให้ความหมายของออร์เคสตราว่า หมายถึง “กลุ่มนักดนตรีที่เล่นเครื่องสาย เครื่องเป่า และเครื่องกระทบ ร่วมกันภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง
.๑ วงซิมโฟนีออร์เคสตรา (symphony orchestra) เป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นในราว ค.๑๖๐๐ ช่วงระยะเวลา ๔๐๐ ปีทำให้วงออร์เคสตราแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เนื่องจากวงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่มาก ลักษณะของวงจึงประกอบไปด้วยกลุ่มเครื่องดนตรีครบทุกประเภท มีทั้งหมด ๔ กลุ่ม คือ
กลุ่มเครื่องสาย (strinng instruments)
กลุ่มเครื่องลมไม้ (woodwind instmluents)
กล่มเครื่องทองเหลือง (brass instlmments)
กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ (percussion instmnents)
ขนาดของวงมีหลายลักษณะ ดังนี้
วงขนาดเล็ก (small orchestra) มีจำนวนผู้เล่นประมาณ ๔๐-๖๐ คน
วงขนาดกลาง (medium orchestra) มีจำนวนผู้เล่นประมาณ ๖๐-๘๐ คน
วงขนาดใหญ (full orchestra) มีจำนวนผู้เล่นประมาณ ๘๐-๑๐๐ คน

                .๒ วงเชมเบอร์มิวสิก (chamber music) วงดนตรีเชมเบอร์นี้จัดเป็นการประสมวงดนตรีตะวันตกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ หรือในสมัยกลาง(middle age) เป็นต้นมา ในสมัยแรกๆ วงดนตรีประเภทนี้เหมาะสำหรับการบรรเลงในบ้านคฤหาสน์ของขุนนางหรือห้องที่สามารถจุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย ต่อมาได้จัดให้มีการแสดงในห้องโถงที่มีขนาดใหญ่และในที่สุดต้องเล่นในสังคีตสถานหรือคอนเสิร์ตฮอลล์ (concert hall)
วงเชมเบอร์มิวสิกมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามจำนวนของผู้บรรเลง ดังนี้
- ผู้บรรเลง ๒ คน เรียก ดูเอต (duet)
- ผู้บรรเลง ๓ คน เรียก ทรีโอ (trio)
- ผู้บรรเลง ๔ คน เรียก ควอเตต (quartet)
- ผู้บรรเลง ๕ คน เรียก ควินเตต (quintet)
- ผู้บรรเลง ๖ คน เรียก เซกซ์เตต (sextet)
- ผู้บรรเลง ๗ คน เรียก เซปเตต (septet)
- ผู้บรรเลง ๘ คน เรียก ออกเตต (octet)
- ผู้บรรเลง ๙ คน เรียก โนเนต (nonet)

                ในการเรียกชื่อวงเชมเบอร์มิวสิกนั้นยังมีประเพณีในการเรียกอีกอย่างคือ เรียกชื่อประเภทของเครื่องดนตรีก่อน แล้วตามด้วยเครื่องดนตรี เช่น สตริงควอเตต (string quartet) หมายถึง วงเชมเบอร์มิวสิกที่ประกอบด้วยเครื่องสาย ได้แก่ ไวโอลิน ๒ คัน วิโอลา ๑ คัน และเชลโล ๑ คัน

  (วงแบนด์ (band)
วงแบนด์เป็นลักษณะของการประสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตก ที่มีเครื่งดนตรีกลุ่มเครื่องเปาเป็นหลัก และมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะบรรเลงร่วมกันการประสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้
                ๒.๑ วงคอนเสิร์ตแบนด์ (concert band) วงดนตรีชนิดนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยโรมันเป็นวงที่มีขนาดปานกลาง มีจำนวนนักดนตรีประมาณ ๓๐-๔๕ คน ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๓ กลุ่ม คือ
กลุ่มเครื่องลมไม้ (woodwind) ได้แก่ ฟลูต ปิกโกโล โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน และแซกโซโฟน
                กลุ่มเครื่องทองเหลือง (brass) ได้แก่ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต ทรอมโบน เฟรนช์ฮอร์นยูโฟเนียม และทูบา
กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (percussion) ได้แก่ ทิมพานี สแนร์ดรัม เบสดรัมและ ฉาบ

                วงคอนเสิร์ตแบนด์มักนั่งบรรเลง ซึ่งต้องมีผู้อำนวยเพลง (conductor) คอยควบคุมจังหวะและปรับความสมดุลของเพลงด้วย และวงลักษณะเช่นนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็นวงที่ใช้สำหรับเดินแถวสวนสนาม หรือแสดงการแปรแถวกลางแจ้ง เรียกว่าการแสดง “ดนตรีสนาม” (display)

                .๒ วงแตรวง (brass band) เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเพียง ๒ กลุ่มเท่านั้นคือ กลุ่มเครื่องทองเหลือง (brass) และกลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (pcrcussion) วงชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้เดินบรรเลงกลางแจ้ง เนื่องจากเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่ให้เสียงทีมีความดัง สนุกสนานและในขณะเดินบรรเลง วงแตรวงจะต้องมีผู้ควบคุมแถวและจังหวะเดินนำหน้าขบวนเรียกว่า คทากรหรือดรัมเมเจอร์ (dmm major) นอกจากนี้วงแตรวงยังถือว่าเป็นต้นแบบของดนตรีแจ๊ซอีกด้วย

                .๓ วงแจ๊ซ (jazz band) การบรรเลงดนตรีแจ๊ซรูปแบบของวงค่อนข้างมีหลากหลาย ลักษณะทั่วไปจะเป็นการบรรเลงที่ใช้คนบรรเลงน้อย กลุ่มเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญสำหรับวงดนตรีแจ๊ซคือกลุ่มที่เรียกวา กลุมริทึม (rhythm section) ประกอบด้วย เปียโน กีตาร์ ดับเบิลเบส และกลองแจ๊ซ เป็นหลักนอกจากนั้นอาจใช้เครื่องเป่าเล่นบรรเลงเดี่ยว (solo) เล่นทำนอง ซึ่งนิยมใช้แซกโซโฟน หรือทรัมเป็ตร่วมบรรเลงประกอบ
วงดนตรีแจ๊ซที่ถือว่ามีรูปแบบที่สมบูรณ์ที่สุด เรียกชื่อทับศัพท์ว่า บิ๊กแบนด์ (big band)วงดนตรีประเภทนี้นอกจากจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีในกลุ่มริทึมแล้วยังประกอบด้วยกลุ่มเครื่องเป่าซึ่งมีลักษณะและจำนวนดังต่อไปนี้
- อัลโตแซกโซโฟน ๒ คัน
- เทเนอร์แซกโซโฟน ๒ คัน
- บาริโทนแซกโซโฟน ๑ คัน
- ทรัมเป็ต ๔ คัน
- ทรอมโบน ๓ คัน
- เบสทรอมโบน ๑ คัน

  
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

ให้นักเรียนชมวีดิทัศน์การบรรเลงดนตรีไทยในแบบต่างๆ เช่น บทเพลงประเภทเพลงเถาเพลงสองชั้น เพลงสามชั้น
ให้นักเรียนชมวีดิทัศน์การบรรเลงดนตรีสากลในแบบต่างๆ เช่น วงซิมโฟนีออร์เคสตราการเล่นแบบดูเอต
เปิดเพลงที่มีเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิด คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครืองลมทองเหลืองให้นักเรียนฟัง อธิบายถึงความแตกต่างของเครื่องดนตรี
ให้นักเรียนทำรายงานหาความแตกต่างของเครื่องดนตรีตะวันตกกับเครื่องดนตรีไทย

๕. ให้นักเรียนเขียนบรรยายลักษณะของบทเพลงและเครื่องดนตรีที่ชื่นชอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น