วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ม.๔-๖ หน่วยที่ ๒ เทียบเสียง สำเนียงภาษา

๒.เทียบเสียง สำเนียงภาษา

เทียบเสียง สำเนียงภาษาเป็นหน่วยการเรียนที่มีเนื้อหาในเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบเกี่ยวกับดนตรีในด้านต่าง ๆ ระหว่างไทยกับสากล โดยเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะความเหมือนหรือต่างในด้านรูปแบบของบทเพลง เครื่องดนตรี รวมถึงรูปแบบการผสมวงประเภทต่างๆ

สาระการเรียนรู้
อิทธิพลดนตรีตะวันตกกับสังคมไทย
ประเภทของเพลงไทยและเพลงสากล
การเปรียบเทียบเครื่องดนตรีไทยและสากล
ประเภทของวงดนตรีไทยและสากล

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมดนตรีไทยและตะวันตกกับสังคมไทยได้
อธิบายประเภทของเพลงไทยและเพลงสากลได้
วิเคราะห์และเปรียบเทียบความเหมือนหรือต่างระหว่างเครื่องดนตรีไทยกับสากลได้
๔ อธิบายลักษณะประเภทของวงดนตรีไทยและสากลได้

  
อิทธิพลดนตรีตะวันตกกับสังคมไทย

                วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิต พฤติกรรม และแนวทางการปฏิบัติของผู้คนในสังคม ที่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน เป็นแนวทางเฉพาะของสังคมนั้นๆ ที่มีความลงตัว เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์และความสงบสุขกับผู้คนในสังคมโดยเป็นการถายทอดจากบุคคลไปสู่บุคคล และจากชุมชนไปสู่อีกชุมชน การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมย่อมต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของมนุษย์ ทั้งในครอบครัวเดียวกัน ระหว่างครอบครัว ระหว่างหมู่บ้าน ตำบลท้องถิ่น และระหว่างประเทศ
                วัฒนธรรมดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในวัฒนธรรมตนตรีไทยและสังคมไทยตั้งแตสมัยอยุธยา เนื่องจากมีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้ากันของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะผู้คนที่เดินทางมาจากแถบตะวันตก ในอดีตการติดต่อสื่อสารด้วยภาษาค่อนข้างลำบาก สิ่งเดียวที่สามารถติดต่อสื่อสารกันโดยไม่ต้องแปล นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าดนตรี นักดนตรีไทยในอดีตได้นำดนตรีตางวัฒนธรรมเหล่านั้นมาดัดแปลงให้เข้ากับดนตรีไทย ด้วยการผสมผสานกลิ่นอายของดนตรีตะวันตก แต่ยังคงรูปแบบดนตรีไทยไว้อย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ เพลงภาษาต่างๆ ตลอดจนการนำเครื่องดนตรีตะวันตกบางชนิดมาผสมผสานบรรเลงร่วมกับดนตรีไทยในรูปแบบไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของไทยดังจะเห็นได้จากการนำชื่อเครืองดนตรีและชาติเหล่านั้นมาตั้งเป็นชื่อของบทเพลงต่างๆ เช่น ฝรั่งรำเท้าหรือกลองมริกัน
                ในสมัยโบราณการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากระบบการติดต่อสื่อสารและการคมนาคมไม่ค่อยสะดวก ต่อเมื่อระบบการสื่อสารได้มีการพัฒนาขึ้น จนกระทั่งในปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีในการสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารผ่านดาวเทืยม ทำให้มนุษย์ทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็ว เช่นเดียวกับการถ่ายโยงในเรื่องของวัฒนธรรมทางดนตรีโดยเฉพาะดนตรีตะวันตกที่ปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญจนกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีเพื่อความบันเทิง ดนตรีเพื่อธุรกิจ ดนตรีเพื่อการศึกษา เป็นต้นซึ่งดนตรีทีมีบทบาทในสังคมไทยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ดนตรีคลาสสิก (Classical Music)และดนตรีสมัยนิยม (Popular Music)
                ดนตรีคลาสสิก คือ ดนตรีทีมีแบบฉบับที่สมบูรณ์ ทั้งเรื่องของเนื้อหาและการปฏิบัติ มีรูปแบบที่แน่นอน มีคุณค่าควรแก่การส่งเสริมและรักษา สำหรับดนตรีคลาสสิกนี้นอกจากจะเป็นดนตรีเพื่อความบันเทิงแล้วยังเป็นดนตรีเพื่อการศึกษาอีกด้วย ส่วนดนตรีสมัยนิยมหรือที่เรียกว่า ป๊อปปูลาร์มิวสิก เป็นดนตรีที่เน้นเพื่อความบันเทิง และธุรกิจเป็นหลัก ดนตรีประเภทนี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่ตลอดเวลาตามความนิยมของคนในสังคมต่างๆ รวมทั้งสังคมไทยด้วย
สำหรับในบทเรียนเล่มนี้เมื่อพูดถึงดนตรีสากลก็จะเน้นในเรื่องของดนตรีคลาสสิกเป็นหลักรวมถึงบทเพลงสากลต่างๆ ด้วย


ประเภทของเพลงไทยและเพลงสากล

ประเภทของเพลงไทย
                เพลงไทยนับได้ว่ามีความสัมพันธ์ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่ในอดีต แม้ว่าในปัจจุบันวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในแบบแผนปัจจุบันก็ตามที ถึงกระนั้นดนตรีไทยก็ยังเป็นสิ่งที่หาฟังได้ไม่ยากนัก เช่นในพิธีไหว้ครูที่มักจะมีการบรรเลงเพลงสาธุการ หรือในการแสดงโขน ละครก็ยังคงจำเป็นต้องมีดนตรีไทยเข้ามาบรรเลงประกอบด้วยเสมอ ซึ่งลักษณะเพลงที่ใช้บรรเลงมีหลายลักษณะ สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
(๑) เพลงประเภทบรรเลง คือ เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงล้วนๆ ไม่มีการขับร้องประกอบเพลงประเภทนี้นับเป็นเพลงที่นักดนตรีมีความเป็นอิสระในการบรรเลงมากที่สุด เพราะไม่ต้องคำนึงถึงระดับเสียงของผ้ขับร้อง การสวมร้อง และการส่งร้อง ได้แก่
๑.๑ เพลงโหมโรง คือ เพลงที่ใช้ประโคมเบิกโรง หรือเพลงที่เล่นนำก่อนแสดงจริง เพื่อบอกให้ชาวบ้านรู้ว่าที่นี้เขาจะมีอะไรกัน นอกจากนั้นยังเป็นการอัญเชิญเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาชุมนุมเพี่อเป็นสิริมงคล
                ๑.๒ เพลงหน้าพาทย์ คือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบอากัปกริยาตัวโขน ละคร หรืออัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี เทวดา และคูรอาจารย์ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้คูรและพิธีที่เป็นมงคล เพลงหน้าพาทย์ใช้กับกิริยาต่อไปนี้
                การร่ายเวทมนตร์คาถา และแปลงตัว
การแผลงฤทธิ์
๓ การจัดทัพและยกทัพ
การไปมาหรือเดินทาง
๑.๓ เพลงเรื่อง คือ การนำเพลงหลายเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เป็นชุด
.๔ เพลงหางเครื่อง คือ เพลงที่ออกต่อท้ายเพลงใหม่อีกทีหนึ่ง เช่น เพลงเขมรโพธิสัตว์(เถาจบแล้วก็ออกเพลงชุดต่างๆ ถ้าเพลงใหม่มีลักษณะสำเนียงอย่างไรก็ออกอย่างนั้นต้องสัมพันธ์กันถ้าเพลงใหญ่สนุก เพลงหางเครื่องก็สนุกด้วย จุดประสงค์ในการเล่นเพลงหางเครื่องคือยืดเวลาบรรเลงและยังเป็นการแสดงความสามารถของผู้เล่นอีกด้วย

(๒) เพลงประเภทรับ-ร้อง คือ เพลงที่นิยมนำมาขับร้องประกอบดนตรีตามแบบฉบับขของเพลงไทย มีลักษณะที่มีคนร้องแล้วมีดนตรีรับหรือร้องคลอไปกับดนตรี ได้แก่
๒.๑ เพลงเถา คือ เพลงเดียวกันที่บรรเลงติดต่อกันตั้งแต่สามชั้นถึงชั้นเดียว หรือตั้งแต่ชั้นเดียวถึงสามชั้น เนื้อเพลงที่นำมาร้องต้องสัมพันธ์กับจังหวะด้วย
.๒ เพลงสามชั้น เป็นเพลงที่ยืดขยายมาจากเพลงในอัตราสองชั้นอีกเท่าตัวโดยยึดหลักการยืดขยายจากชั้นเดียวมาเป็นสองชั้น
                ๒.๓ เพลงสองชั้น เป็นเพลงที่ยืดขยายมาจากเพลงพั้เดียวอีกเท่าตัว เช่น เพลงพั้เดียวมี ๒ ห้อง เพลงสองชั้นต้องมี ๔ ห้อง
๒.๔ เพลงชั้นเดียว เป็นเพลงที่มีประโยคสั้นที่สุด เป็นของที่มาแต่ดั้งเดิม โดยมากเป็นพวกเพลงเร็ว และเพลงฉิ่งต่างๆ นอกนั้นได้แก่เพลงสองชั้นที่ตัดลงมาเป็นชั้นเดียว
.๕ เพลงตับ คือ เพลงชุดที่ใช้เพลงหลายเพลงมารวมกัน แบ่งเป็น
* ตับเรื่อง คือ เพลงที่เรียบเรียงขึ้นจากเพลงหลายเพลงโดยเอาเนื้อร้องของแต่ละเพลงที่นำมาเรียงแล้วได้เป็นเรื่องราวคล้องจองกัน
* ตับเพลง คือ เพลงที่เรียบเรียงขึ้นโดยใช้ทำนองเป็นหลักและทำนองเหล่านี้อยู่ในลักษณะอย่างเดียวกัน
เพลงเกร็ด คือ เพลงที่มิได้เรียบเรียงเข้าเป็นชุดตางๆ ดังกล่าว แต่จะนำเพลงจากชุดต่างๆมาเป็นเพลงเกร็ดก็ได้ เพลงชนิดนี้มิได้สำหรับบรรเลงในเวลาสั้นๆ เพลงเกร็ดส่วนมากมักมีบทร้องที่กินใจหรือทำนองที่ตื่นเต้น สนุกสนาน


ประเภทของเพลงสากล
บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นอย่างมีแบบแผนในดนตรีตะวันตกนั้นเรียกว่า “ดนตรีคลาสสิก” ซึ่งหมายถึง ดนตรีที่อาศัยเค้าโครงของดนตรีที่วิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยองค์ประกอบของดนตรีที่สูงสุดของแนวทำนอง การประสานเสียง สีสันของเครื่องดนตรี รูปแบบโครงสร้าง และการถายทอดอารมณ์ ซึ่งคีตกวีประพันธ์ขึ้นด้วยความประณีต
                ดนตรีคลาสสิก มีหลายประเภทด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท เช่นเดียวกับดนตรีไทย คือ
(๑) ดนตรีประเภทบรรเลง หมายถึง บทเพลงที่ใช้เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บรรเลงเป็นหลักโดยผู้ประพันธ์จะใช้ความรู้สึกและจ็นตนาการถ่ายทอดออกมาเป็นเสียงดนตรีในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งชนิดของเพลงบรรเลงออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
                ๑.๑ ซิมโฟนี (symphony) คือ บทเพลงที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งประพันธ์ขึ้นอย่างมีแบบแผนเพื่อใช้สาหรับวงออร์เคสตราซึ่งเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ บทเพลงซิมโฟนีประกอบด้วย ๓-๔ ท่อน(Movement) โดยในแต่ละท่อนจะมีการจัดรูปแบบของความเร็วของอัตราจังหวะดังนี้
                ท่อนที่ ๑ (fist movement) เป็นบทนำของเพลงมักจะมีความยาวมากที่สุด มีลักษณะของความลึกซึ้งและสลับซับซ้อน ใช้ความเร็วในลักษณะของอัลเลโกร (allegro) ซึ่งหมายถึงเร็ว
ท่อนที่ ๒ (second movement) โดยทั่วไปมีลักษณะช้า เป็นการนำทำนองหลัก (theme)มาพัฒนา ใช้ลักษณะอาดาจิโอ (adagio) หรือลาร์โกน(largo) คือช้าหรือช้ามาก

ท่อนที่ ๓ (third movement) เป็นท่อนที่มีลักษณะไพเราะ ผ่อนคลาย โครงสร้างมักจะเป็นจังหวะเต้นรำมินูเอ็ต (minuet) มีการซ้ำทวนของทำนองต่าง ๆ มากที่สุด ลักษณะความเร็วเปนแบบสนุกสนาน คือ อัลเลโกร (allegro) อัลเลเกรตโต (allegretto) หรือวีวาเซ (vivace)
ท่อนที่ ๔ (fourth movement) มักมีท่วงทำนองที่เร็ว บางครั้งเป็นลีลาทีแปรผันนาจากทำนองหลัก Theme) มีลักษณะเร็วเร้าใจแบบอัลเลโกร (allegro) หรืออัลเลเกรตโต (allegretto) และวีราเซ(vivace)
                ๑.๒ คอนเชอร์โต (concerto) คอนเชอร์โตเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึงการประชันหรือต่อสู้กัน ในความหมายทางดนตรีจะหมายถืง การประชันกันระหว่างเครื่องดนตรีเดียวกับวงออร์เคสตรา บทเพลงคอนเชอร์โตเป็นประเภทของบทเพลงที่ประกอบด้วยกัน ๓ ท่อน (movement) คือท่อนที่ ๑ (first movement) เป็นบทนำของเพลง ความเร็วจังหวะมีลักษณะเร็วแบบอัลเลโกร (allegro)
                ท่อนที่ ๒ (second movement) โดยทั่วไปจะเป็นท่วงทำนองที่ช้า เป็นการนำทำนองหลักมาพัฒนา มีลักษณะช้าแบบแอนแดนต์เต้ (andante) อาดาจโอ (adagio) หรือลาร์โก (largo)ท่อนที่ ๓ (third movement) มีลักษณะเร็วแบบสนุกสนานแบบอัลเลโกร (allegro) อัลเลเกรดโต (allegretto) หรือวีวาเช (vivace)
                ๑.๓ โซนาตา (sonata) โซนาตาเป็นค่าในภาษาอิตาลี หมายถึง “ฟัง” จัดเป็นบทเพลงทีมีความสำคัญและมีบทบาทตลอดมาตั้งแต่สมัยบาโรกจนถึงปัจจุบัน โซนาตามีอยู่ ๒ ลักษณะ คือโซนาตาที่บรรเลงเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีเล็กๆ ซึ่งเป็นโซนาตาแบบหนึ่งในสมัยบาโรก และโซนาตาที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีชนิดเดียวหรือ ๒ ชนิด แต่เน้นการแสดงออกของเครื่องดนตรีเพียงชนิดเดียว โดยมีเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งเล่นคลอให้บทเพลงสมบูรณ์ขึ้นซึ่งอาจเรียกว่าโซโลโซนาตาได้ โซนาตาในลักษณะนี้เป็นความหมายของโซนาตาที่ใช้กันตั้งแต่ยุคคลาสสิกจนถึงปัจจุบัน
                ๑.๔ โอเวอร์เชอร์ (overture) คือ บทเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วนๆ ใช้เป็นเพลงนำก่อนจะมีการแสดงละครโอเปรา ซึ่งในภาษาไทยเรียกว่า “เพลงโหมโรง” เพลงโอเวอร์เชอร์อาจเป็นเพลงที่แสดงถึงบรรยากาศหรืออารมณ์ของโอเปราที่จะแสดง กล่าวคือ ถ้าโอเปราเป็นเรื่องเศร้าโอเวอร์เชอร์จะมีทำนองที่เศร้า เพลงโอเวอร์เชอร์มักจะเป็นเพลงสั้นๆ มีความยาวประมาณ ๔-๘ นาทีโดยทั่วไปโอเวอร์เชอร์มักจะเป็นการรวมทำนองหลักของโอเปราในฉากต่างๆ
(๒) ดนตรีประเภทขับร้อง เราอาจกล่าวได้ว่าเสียงของมนุษย์คือเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ธรรมชาติมอบให้เพื่อใช้สื่อสาร แสดงความรู้สึกต่างๆ รวมถึงการใช้เสียงเพื่อร้องเพลง ทั้งหมดล้วนมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกันคือ “เส้นเสียง” เส้นเสียงของมนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย อย่างไรก็ตามเราสามารถแบ่งดนตรีประเภทขับร้องออกได้หลายประเภท ดังนี้
                .๑ แชนต์ (chants) เป็นเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์เรียกว่า เพลงสวดเป็นการขับร้องล้วนๆ ไม่มีดนตรีประกอบ ใช้ขับร้องเพื่อสรรเสรญสดุดี และขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าลักษณะของเพลงมีทั้งการใช้คำร้อง ๑ พยางค์ต่อเสียง ๑ เสียง หรือ ๒ เสียง หรือใช้คำร้อง ๑ พยางค์ต่อเสียง๒ ถึง ๔ เสียงคล้ายลักษณะของการเอื้อนยาวๆ
๒.๒ ออร์กานุม (organ um) เป็นบทเพลงศาสนา มีลักษณะการร้องประสานเสียงแบบโพลีโฟนิก (polyphonic style) ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการร้องประสานเสียงครั้งแรกในดนตรีตะวันตก คือ การใช้ทำนองเพลงสอดประสานในระหว่างทำนองเพลงด้วยกันเอง ทำให้เกิดเสียงประสานขึ้น การขับร้องประกอบด้วยแนวทำนองหลัก ๒ แนว โดยผู้น้องทั้ง ๒ แถวจะขับร้องกันคนละแนว แต่การร้องจะดำเนินไปในเวลาเดียวกันตั้งแต่ต้นจนจบ
                .๓ โมเท็ต (motet) เป็นเพลงที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกเกิดขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ ๑๓ มีลักษณะเป็นเพลงขับร้องเสียง ๓ แนว นักประพันธ์เพลงมักจะแต่งบทประพันธ์ที่เสริมแต่งประดับประดาเกรกอเรียนแชนต์ (Gregorian chant) โดยเขียนเป็นแนวต่ำสุดส่วนแนวบนอีก ๒ แถวเป็นทำนองเพลงทีมีอิสระต่างจากแนวต่ำสุดที่ร้องเป็นภาษาละตินและร้องเป็นภาษาฝรั่งเศส โมเท็ตจึงเป็นเพลงขับร้องที่มีอิสระทั้งทำนองเพลง จังหวะ ภาษา และเนื้อร้อง
                ๒.๔ ออราทอริโอ (oratorio) คือบทเพลงทีประกอบไปด้วยการร้องเดี่ยวของนักร้องระดับเสียงต่างๆ ประกอบการร้องของวงประสานเสียง และการบรรเลงของวงออร์เคสตรา เนื้อร้องเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ ลักษณะของออราทอริโอคล้ายกับการร้องโอเปราเพียงแต่ไม่มีการแสดงประกอบ ออราทอริโอเป็นเพลงที่มีความยาวมาก ในบางบทถ้าแสดงโดยสมบูรณ์อาจมีความยาวถึง ๔-๖ชั่วโมง ในปัจจุบันการแสดงเพลงประเภทนี้จึงมีการตัตเพลงบางท่อนออกไปเพื่อลดเวลาการแสดงให้เหมาะสมกับโอกาส
                ๒.๕ กันตาตา (cantata) คือบทประพันธ์ประเภทเพลงร้องที่นิยมประพันธ์กันในสมัยบาโรก ประกอบไปด้วยเพลงร้องที่มีหลายท่อน ได้แก่ การร้องเดี่ยว การร้องคู่ การร้องในลักษณะของการพูด และการร้องประสานเสียง บทร้องมีทั้งเกี่ยวข้องกับศาสนาและเรื่องทั่วๆ ไป
.๖ แมสส์ (mass) คือบทเพลงสวดของชาวโรมันคาทอลิก มีพิธีสวดเรียกว่าพิธีแมสส์หรือพิธีมิสซา เป็นพิธีสวดมนด์ในพิธีถวายมหาบูชาแก่พระผู้เป็นเจ้า ตลอดจนรวมไปถึงการเทศน์ของบาทหลวงด้วย แมสส์เป็นเพลงขับร้องประสานเสียงชั้นสูงที่คีตกวีแต่งทำนองร้องประสานเสียง โดยมีเนื้อร้องเป็นบทสวดภาษาละติน ๕ บทด้วยกัน โดยเริ่มจากบท Kyrie “Lord have mercy” Gloria, Credo,Sanctus และ Agnus Dei และในบางตอนของเพลงแมสส์มีการขับร้องเดี่ยว หรือเดี่ยวประกอบการประสานเสียงเพลงมิสซา


การเปรียบเทียบเครื่องดนตรีไทยและสากล

เครื่องดนตรีไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีของชนชาติใดล้วนมืลักษณะการเล่นที่ค่อนข้างเหมือนกันในบทเรียนนี้จะขอเปรียบเทียบเฉพาะเครื่องดนตรีไทยกับเครื่องดนตรีที่เป็นสากล ทั้งนี้เครื่องดนตรีที่เกิดจากวัฒนธรรมที่ต่างกันอาจมีบางส่วนที่เหมือนหรือต่างกันซึ่งจากการวิเคราะห์แล้วสามารถเปรียบเทียบได้ตามลักษณะดังนี้
ตารางเปรียบเทียบเครื่องดนตรีไทยกับสากลตามลักษณะการกำเนิดเสียง
ลักษณะการกำเนิดเสียง
เครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีสากล
ดีด
- กระจับปี่ จะเข้
กีตาร์ ฮาร์พ
สี
- ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้
ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส
ตี
ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่
ฉิ่ง ฉาบ ฆ้องโหม่ง กรับ ตะโพน กลองทัด
โทน รำมะนา กลองแขก กลองสองหน้า
ไวบราโฟน ไซโลโฟน ทิมพานี กล็อกเคลสปีล สแนร์ดรัม เบสดรัม บองโก คองกา ฉาบ
เป่า
ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยอู้ ปี่นอก
ปี่ใน ปี่กลาง ปี่มอญ ปี่ชวา แคน
แตรงอน แตรสังข์
ปิกโกโล ฟลูต โอโบ คลาริเน็ต
บาสซูน แซกโซโฟน ทรัมเป็ต คอร์เน็ต ทรอมโบน เฟรนช์ฮอร์น ยูโฟเนียม ทูบา ซูซาโฟน

ตารางเปรียบเทียบเครีองดนตรีไทยกับสากลตามหมวดหมู่แบบสากล
ประเภทเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีสากล
เครื่องสาย
- สี
- ดีด

- ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ สะล้อ
- กระจับปี่ จะเข้ พิณเพียะ ซึง

- ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส
กีตาร์ ฮาร์พ
เครื่องลมไม้
ไม่มีลิ้น
ลิ้นเดี่ยว
ลิ้นคู่

ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ่ ขลุ่ยอู้
ปี่อ้อ ปี่ชวา
ปี่นอก ปี่กลาง ปี่ใน ปี่มอญ ปี่ชวา ปี่ไฉน

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปิกโกโล ฟลูต
คลาริเน็ต แซกโซโฟน
- โอโบ อิงลิชฮอร์น บาสซูน
เครื่อง ลม ทองเหลือง
แตรฝรั่ง แตรงอน แตรสังข์
- ทรัมเป็ต คอร์เน็ต ทรอมโบน เฟรนช์ฮอร์น ยูโฟเนียม ทูบา ซูซาโฟน
เครื่องกระทบ
แบบมีระดับเสียง

แบบไม่มีระดับ
เสียง

- ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมอญ
ฉิ่งไ ฉาบ กรับ โหม่ง กลองทัด ตะโพน โทน รำมะนาร กลองแขก กลองสองหน้า กลองชนะ

- ไวบราโฟน ไซโลโฟน ทิมพานี


- สแนร์ดรัม เบสดรัม ไทรแองเกิล บองโก คองกา ฉาบ


ประเภทของวงดนตรีไทยและสากล

วงดนตรีไทย
                การประสมวงดนตรีไทยนั้นมีวิธีการประสมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ โดยการจัดวงแต่ละประเภทคำนึงถึงความเหมาะสมกลมกลืนของเสียงเครื่องดนตรีที่นำมารวมกัน โดยเน้นที่ระดับความดัง-เบาที่ใกล้เคียงกัน เช่น นำขล่ยซึ่งมีระดับเสียงที่เบามาบรรเลงรวมกับซออู้ หรือนำปี่ที่มีเสียงดังมาบรรเลงรวมกับระนาดเอกที่ตีด้วยไม้แข็ง ในปัจจุบันได้มีการจัดประเภทของวงดนตรีไทยแบบมาตราฐานอยู่
๓ ประเภท คือ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ และวงมโหรี

วงเครื่องสาย
                วงเครื่องสาย ในดนตรีไทยประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก และมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าเป็นส่วนประกอบ เครื่องประกอบจังหวะประเภทเครื่องหนังใช้โทน รำมะนาบรรเลงจังหวะหน้าทับ โดยมีฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่งร่วมบรรเลงประกอบจังหวะด้วย สำหรับวงเครื่องสายเหมาะสำหรับการบรรเลงในห้องหรือในอาคาร นิยมบรรเลงในงานมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสงานเลี้ยงสังสรรค์ วงเครื่องสายแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ วงเครื่องสายไทย วงเครื่องสายผสม และวงเครื่องสายปี่ชวา
                (๑) วงเครื่องสายไทย มักเรียกสั้นๆ ว่า “วงเครื่องสาย” มีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายคู่
.๑ วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสาย และเครื่องเป่าอย่างละหนึ่งเครื่อง ดังนี้
- จะเข้ ๑ ตัว
- ซอด้วง ๑ คัน
- ซออู้ ๑ คัน
- ขลุ่ย ๑ เลา
- โทน-รามะนา ๑ คู่
- ฉิ่ง ๑ คู่
                ๑.๒ วงเครื่องสายคู่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายเป็นหลักโดยเพิ่มจานวน
ของเครื่องดนตรีจำพวกที่ทำทำนองจากเครื่องละหนึ่งเป็นสอง ดังนี้
- จะเข้ ๒ ตัว
- ซอด้วง ๒ คัน
- ซออู้ ๒ คัน
- ขลุ่ย ๒ เลา
- ฉาบ ๑ คู่
- กรับ ๑ คู่
- โหม่ง ๑
- โทน-รำมะนา ๑ คู่

                (๒) วงเครื่องสายผสม เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยทุกประเภทแต่นำเอาเครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือจากเครื่องสายไทยมาผสม เช่น ขิม ออร์แกน ถ้านำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่า วงเครื่องสายผสมขิม หากนำออร์แกนมาร่วมบรรเลงก็จะเรียกวงเครื่องสายผสมออร์แกน
                (๓) วงเครื่องสายปี่ชวา เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลักแต่นำปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียงออ คงเหลือไว้แต่ขลุ่ยหลีบซึ่งมีเสียงสูง เครื่องหนังซึ่งใช้บรรเลงจังหวะหน้าทับในวงเครื่องสายทั่วไป เช่น โทน รำมะนา มีเสียงเบา ไม่เหมาะกับปี่ชวาซึ่งมีเสียงดังมากจึงเปลี่ยนมาใช้กลองแขกแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก และวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่

                .๑ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
- ปี่ชวา ๑ เลา
- ขลุ่ยหลีบ ๑ เลา
- ซอด้วง ๑ คัน
- ซออู้ ๑ คัน
- จะเข้ ๑ ตัว
- กลองแขก ๑ คู่

                ๓.๒ วงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กเป็นหลักโดยเพิ่มเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายให้เป็นสองหรือคู่ ดังนี้
- ปี่ชวา ๑ เลา
- ขลุยหลีบ ๑ เลา
- ซอด้วง ๒ คัน
- ซออู้ ๒ คัน
- จะเข้ ๒ ตัว
- กลองแขก ๑ คู่
- ฉิ่ง ๑ คู่
- ฉาบ กรับ โหม่ง

วงปี่พาทย์
                วงปี่พาทย์ เป็นรูปแบบของการประสมวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ และเครื่องตีได้แก่ ระนาดและฆ้อง ในการบรรเลงฆ้องจะทำหน้าที่เดินทำนองหลักของเพลง ในขณะที่เครื่องทำทำนองอื่นๆ ทำหน้าที่แปรทำนองลูกฆ้องให้เป็นทางเฉพาะตามความเหมาะสมกับเครื่องดนตรีนั้นๆโดยมีเครื่องตีประกอบจังหวะ เช่น กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง บรรเลงประกอบ วงดนตรีประเภทนี้นับได้ว่ามีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมากเกือบทุกขั้นตอนของชีวิต ตั้งแต่โกนจุก ทำบุญในเทศกาลต่างๆ บวชนาค พิธีศพ ไปตลอดจนถึงการบรรเลงประกอบการแสดงต่างๆ เช่นโขน ละคร ลิเกการประสมวงปี่พาทย์ที่นิยมบรรเลงอยู่ในปัจจุบันมี ๖ รูปแบบ คือ วงปี่พาทย์ชาตรี วงปี่พาทย์ไม้แข็งวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และวงปี่พาทย์มอญ
                (๑) วงปี่พาทย์ชาตรี การประสมวงดนตรีชนิดนี้เริ่มปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีชื่อเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าวงปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา ทั้งนี้คงเนื่องมาจากการพิจารณาตามขนาดและน้ำหนักของเครื่องดนตรีทีมีขนาดเล็กและเบานั่นเอง วงดนตรีประเภทนี้นิยมบรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี จึงมีชื่อเรียกวงดนตรีตามรูปแบบของการแสดงละครชาตรี วงปี่พาทย์ชาตรีประกอบไปต้วย
เครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้
- ปี่นอก ๑ เลา
- กลองตุ๊ก ๑ ใบ
- ทับ(โทนชาตรี) ๑ คู่
- ฆ้องคู่ ๑ ชุด
- ฉิ่ง ๑ คู่

                (๒) วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงดนตรีที่ใช้ในโอกาสต่างๆ เช่น งานพระราชพิธี พิธีกรรมทางศาสนา งานตางๆ และประกอบการแสดงโขน ละคร เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงดนตรีประเภทนี้จะมีเสียงดังเนื่องจากบรรเลงด้วยไม้ตีชนิดแข็ง จึงเรียกชื่อวงดนตรีชนิดนี้ว่า ปี่พาทยม้แข็ง ตามลักษณะของไม้ที่ใช้บรรเลง ลักษณะของเพลงที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็งจึงมีความหนักแน่น สง่าผ่าเผย คล่องแคล่วและสนุกครึกครื้น วงปี่พาทย์ไม้แข็งสามารถเเบ่งตามขนาดของความเล็ก-ใหญ่ได้ ๓ ขนาด คือวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ และวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่
                ๒.๑ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีอย่างละหนึ่งหน่วยจำนวน ๖ เครื่อง สาเหตุที่เรียกเครื่องห้าอาจเป็นเพราะตะโพนและกลองทัดจัดเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเครื่องหนังหรือกลองทั้งคู่ จึงนับจำนวนหน่วยเป็นหนึ่ง วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้
- ปี่ใน ๑ เลา
- ระนาดเอก ๑ ราง
- ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง
- ตะโพน ๑ ใบ
- กลองทัด ๑ คู่
- ฉิ่ง ๑ คู่

.๒ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ วงปี่พาทย์ชนิดนี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีการประดิษฐ์คิดสร้างระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเพื่อบรรเลงคู่กับระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ในสมัยนี้สาเหตุที่วงปี่พาทย์ไม้แข็งชนิดนี้ถูกเรียกว่าเครื่องคู่นั้น คงเนื่องมาจากรูปแบบของการประสมวงที่กำหนดจำนวนเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงทำนองให้เป็นอย่างละสองเครื่องหรือเป็นคู่ กล่าวคือปี่ ๑ คู่ ระนาด ๑ คู่ และฆ้องวง ๑ คู่ สำหรับเครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ประกอบไปด้วย  
- ปี่ใน ๑ เลา
- ปี่นอก ๑ เลา
- ระนาดเอก ๑ ราง
- ระนาดทุ้ม ๑ ราง
- ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง
- ฆ้องวงเล็ก ๑ วง
- ตะโพน ๑ ใบ
- กลองทัด ๑ คู่
- ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม

                ๒.๓ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ วงปี่พาทย์นี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เนื่องจากมีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็กเเละระนาดทุ้มเหล็กขึ้นในสมัยนี้ วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่เป็นหลัก โดยเพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กอีก ๒ ราง ระนาดเหล็กทั้ง ๒ รางนี้มักเรียกกันว่า “หัว-ท้าย” ทั้งนี้คงเนื่องมาจากระเบียบการจัดวงที่เครื่องดนตรีทั้งสองนี้ถูกกำหนดตำแหน่งให้อยู่ด้านหัวและท้ายของวงนั่นเอง วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
- ปี่ใน ๑ เลา
- ปี่นอก ๑ เลา
- ระนาดเอก ๑ ราง
- ระนาดทุ้ม ๑ ราง
- ระนาดเอกเหล็ก ๑ ราง
- ระนาดทุ้มเหล็ก ๑ ราง
- ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง
- ฆ้องวงเล็ก ๑ วง
- ตะโพน ๑ ใบ
- กลองทัด ๑ คู่
- ฉิ่ง ๑ คู่
- ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม

                วงปื่พาทย์ไม้แข็งทั้ง ๓ ขนาด ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น วัตถุประสงค์หลักของการรวมวงจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเลงประกอบพิธีกรรมและการแสดงโขน ละคร เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในกรณีที่ต้องการบรรเลงเพื่อขับกล่อม วงดนตรีชนิดนี้จึงต้องปรับเปลี่ยนเอากลองทัดและตะโพนซึ่งมีเสียงดังออกไป และใช้กลองสองหน้าหรือกลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน ซึ่งก็จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวงปี่พาทย์ เสภา” ใช้ประกอบการบรรเลงร้อง-ส่ง ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
- ปี่ใน ๑ เลา
- ปี่นอก ๑ เลา
- ระนาดเอก ๑ ราง
- ระนาดทุ้ม ๑ ราง
- ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง
- ฆ้องวงเล็ก ๑ วง
- กลองสองหน้า ๑ ใบ
- ฉิ่ง ๑ คู่
- ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม

(๓) วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ใม้นวมเกิดขึ้นเพราะด้องการวงดนตรีที่มีเสียงไม่ดังจนเกินไปมีความนุ่มนวล จึงปรับแม้ที่ใช้บรรเลงระนาดเอกจากไม้แข็งเป็นไม้นวม คือไม้ตีจะพันผ้าและด้ายรัดหลายๆ รอบจนแน่น เมื่อใช้ตีจะมีเสียงนุ่มนวล เครื่องเป่าแต่เดิมเคยใช้ปี่ซึ่งมีเสียงที่ดังมากเปลี่ยนมาใช้ขลุ่ยเพียงออซึ่งให้เสียงที่เบาก่วา นอกจากนั้นยังเพิ่มซออู้เข้าไปอีก ๑ คัน ทั้งนี้เพื่อให้วงมีเสียงที่นุ่มนวลและกลมกล่อมมากขึ้นกว่าเดิม
                (๔) วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์ชนิดนี้มีรูปแบบคล้ายกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง แต่เมื่อนำมาประโคมศพมีการปรับเปลี่ยนเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนปี่ในและปี่นอก ใช้กลองมลายูแทนกลองทัดและตะโพน วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในพิธีศพเท่านั้น ในปัจจุบันวงดนตรีชนิดนี้หาโอกาสที่จะฟังได้ยาก ทั้งนี้เนื่องจากคนนิยมที่จะจัดหาปี่พาทย์มอญมาบรรเลงแทน สาเหตุที่เรียกปี่พาทย์นางหงส์เพราะใช้เพลงเรื่องนางหงส์สองชั้น เป็นหลักสำคัญในการบรรเลง
                (๕) วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงดนตรีชนิดนี้ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ซึ่งเป็นละครที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ด้ทรงปรับปรุงให้ละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ มีฉากเปลี่ยนไปตามเนื้อเรื่อง และตัวละครสามารถพูดเจรจาเองได้โดยไม่ต้องมีคนพากย์เสียงให้ ชื่อวงดนตรีเรียกตามชื่อโรงละครและชื่อการแสดงละครว่า “ดึกดำบรรพ์” เครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงปี่พาทย์ชนิดนี้ได้คัดเลือกเอาเฉพาะเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มต่ำนุ่มนวลซึ่งประกอบด้วย
- ระนาดเอก ๑ราง(ใช้ไม้นวม)
- ระนาดทุ้ม ๑ ราง
- ระนาดทุ้มเหล็ก ๑ ราง
- ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง
- ซออู้ ๑ คัน
- ขลุ่ยอู้ ๑ เลา
- ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา
- ฆ้องหุ่ย ๑ ชุด(๗ เสียง)
- ตะโพน ๑ ใบ
- กลองตะโพน ๑ ใบ
- กลองแขก ๑ คู่
- ฉิ่ง ๑ คู่
                (๖) วงปี่พาทย์มอญ วงปี่พาทย์มอญเป็นดนตรีที่ปัจจุบันนิยมใช้บรรเลงในงานศพ แต่เดิมทีเดียววงชนิดนี้บรรเลงกันเฉพาะในหมู่ของชาวไทยรามัญเท่านั้น บรรเลงทั้งในงานมงคล และอวมงคลทั่วไปลักษณะที่เด่นชัดของวงปี่พาทย์มอญจะมีระดับเสียงที่ทุ้มต่ำกังวานลึก เครื่องดนตรีที่มีลักษณะแตกต่างจากวงดนตรีชนิดอื่นอย่างเด่นชัด ได้แก่ เปิงมางคอก ปี่มอญ ตะโพนมอญ และฆ้องมอญ นอกเหนือจากนั้นล้วนมีอยู่ในวงปี่พาทย์ชนิดอื่นทั้งสิ้น วงดนตรีชนิดนี้แบ่งเป็น ๓ ขนาดเช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งวงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่นับได้ว่าเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงปี่พาทย์มอญขนาดต่างๆ มีดังนี้

วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า
วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่
วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่
ฆ้องมอญวงใหญ่
-
-
-
ระนาดเอก
-
ปี่มอญ
เปิงมางคอก
ตะโพนมอญ
-
ฉิ่ง
-
ฆ้องมอญวงใหญ่
ฆ้องมอญวงเล็ก
-
-
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ปี่มอญ
เปิงมางคอก
ตะโพนมอญ
โหม่งราว
ฉิ่ง
ฉาบ
ฆ้องมอญวงใหญ่
ฆ้องมอญวงเล็ก
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ปี่มอญ
เปิงมางคอก
ตะโพนมอญ
โหม่งราว
ฉิ่ง
ฉาบ

วงมโหรี
วงมโหรี จัดเป็นวงดนตรีโบราณวงหนึ่งของไทยที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นของสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีพระราชกำหนดห้ามมิให้ผู้อื่นหัดละครผู้หญิง ยกเว้นละครที่เป็นของหลวงซึ่งรู้จักกันในนามละครใน ดังนั้นบรรดาเจ้าหน้าที่และขุนนางบางส่วนจึงให้บริวารผู้หญิงฝึกหัดมโหรีส่วนผู้ชายให้ฝึกหัดปี่พาทย์ บางส่วนก็ฝึกหัดละครชายล้วนซึ่งรู้จักในชื่อละครนอก ในช่วงระยะเวลาที่มโหรีนิยมบรรเลงแต่เฉพาะในหมู่ผู้หญิงนั้น เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีทุกชนิด เช่น ระนาดเอกระนาดทุ้ม และฆ้องวง จะมีขนาดเล็กกว่าเครื่องตีในวงปี่พาทย์ที่นิยมเล่นในหมู่ผู้ชาย ทั้งนี้เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของผู้หญิง และคุณภาพของเสียงเมื่อต้องบรรเลงร่วมกับวงเครื่องสายเป็นเกณฑ์สำคัญ
                ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกเลิกพระราชกำหนดฉบับนั้น ยังผลให้บรรดาเจ้านายและขุนนางกลับมาฝึกหัดบริวารหญิงให้เป็นคณะละครขึ้นมาใหม่ วงมโหรีหญิงจึงเริ่มซบเซา ในช่วงเดียวกันนั้นมีผู้ชายบางกลุ่มเริ่มสนใจเครื่องสายและได้นำมาบรรเลงรวมกับเครื่องปี่พาทย์ที่พวกตนบรรเลงอยู่ก่อนแล้วจึงเกิดเป็นรูปแบบของการประสมวงแบบใหม่ซึ่งรู้จักกันในขณะนั้นว่า “วงมโหรีเครื่องสาย” ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ใช้เฉพาะผู้ชายบรรเลง ต่อมาภายหลังทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างก็เข้ามาบรรเลงร่วมกัน ในปัจจุบันจึงเรียกการประสมวงชนิดนี้ในภาพรวมว่า วงมโหรี
                ในด้านคุณลักษณะของเสียง วงมโหรีจัดเป็นการประสมวงที่มีความสมบูรณ์ในด้านเสียงกล่าวคือ เป็นการนำเครื่องดนตรีทำทานองของวงปี่พาทย์ที่มีเครื่องมือคือ ระนาดเอก ระนาดทุ้มระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ร่วมกับเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายที่มีเครื่องดีด คือ จะเข้ เครื่องสี คือ ซอด้วงและซออู้ เครื่องเป่า คือ ขลุ่ย ดังนั้นการนำวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายมารวมกัน จึงทำให้วงมโหรีเป็นการรวมกันของเครื่องดนตรีทุกประเภทคือ ดีด สี ตี เป่า
วงมโหรี แบ่งออกเป็น ๓ ขนาดเช่นเดียวกับการประสมวงปี่พาทย์ คือ วงมโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่ และวงมโหรีเครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีที่ประสมอยู่ในวงมโหรีขนาดต่างๆ มีดังนี้
วงมโหรีวงเล็ก
วงมโหรีเครื่องคู่
วงมโหรีอครื่องใหญ่
จะเข้
ซอสามสาย
ซอด้วง
ซออู้
ขลุ่ยเพียงออ
-
ระนาดเอก
-
-
-
ฆ้องวงใหญ่
-
โทน-รำมะนา
ฉิ่ง
ฉาบ
โหม่ง
จะเข้ ๒ ตัว
ซอสามสาย ๒ คัน
ซอด้วง ๒ คัน
ซออู้ ๒ คัน
ขลุ่ยเพียงออ
ขลุ่ยหลีบ
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
-
-
ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงเล็ก
โทน-รำมะนา
ฉิ่ง
ฉาบ
โหม่ง
จะเข้ ๒ ตัว
ซอสามสาย ๒ คัน
ซอด้วง ๒ คัน
ซออู้ ๒ คัน
ขลุ่ยเพียงออ
ขลุ่ยหลีบ
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก
ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงเล็ก
โทน-รำมะนา
ฉิ่ง
ฉาบ
โหม่ง


ตารางเปรียบเทียบการใช้เครื่องดนตรีในวงดนตรีไทยประเภทต่าง ๆ
เครื่องดนตรี
วงดนตรี
ดีด
สี
ตี
เป่า
เครื่องสาย
จะเข้
ซอด้วง
ซออู้
-
ขลุ่ยหลีบ
ขลุ่ยเพียงออ
ปี่พาทย์
-
-
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงใหญ่
ปี่ใน
ปี่นอก
มโหรี
จะเข้
ซอด้วง
ซออู้
ซอสามสาย
ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดทุ้มเหล็ก
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงใหญ่
ขลุ่ยหลีบ
ขลุ่ยเพียงออ
  
วงดนตรีสากล
                ในการถ่ายทอดผลงานเพลงต่างๆ ที่นักประพันธ์หรือคีตกวีได้ใช้ความสามารถในการแต่งขึ้นนั้นบทเพลงต่างๆ ไม่สามารถเกิดเสียงขึ้นมาเองโดยปราศจากผู้เล่น หรือนักดนตรีได้ และบทเพลงต่างๆ ที่ถูกประพันธ์ขึ้นมานั้น ผู้ประพันธ์ย่อมตั้งจุดประสงค์แล้วว่าต้องการจะให้บทเพลงออกมาในลักษณะใดเสียงเป็นแบบใด นอกจากการเลือกใช้เครื่องดนตรีประเภทต่างๆ แล้ว รูปแบบของการประสมวงในลักษณะต่างๆ ก็จะทำให้บทเพลงเกิดสีสันที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการประสมวงดนตรีสากลหรือดนตรีตะวันตกนั้นจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์และการใช้งาน ซึ่งวงดนตรีสากลสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ วงออร์เคสตรา (orchestra) และวงแบนด์ (band)
                (๑) วงออร์เคสตรา (orchestra)
ออร์เคสตรา เป็นคำในสมัยโบราณหมายถึง บริเวณที่อยู่ตอนหน้าเวทีของโรงละครกรีก สำหรับจัดเป็นที่ของนักดนตรีและนักร้องในปัจจุบันได้ให้ความหมายของออร์เคสตราว่า หมายถึง “กลุ่มนักดนตรีที่เล่นเครื่องสาย เครื่องเป่า และเครื่องกระทบ ร่วมกันภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง
.๑ วงซิมโฟนีออร์เคสตรา (symphony orchestra) เป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นในราว ค.๑๖๐๐ ช่วงระยะเวลา ๔๐๐ ปีทำให้วงออร์เคสตราแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เนื่องจากวงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่มาก ลักษณะของวงจึงประกอบไปด้วยกลุ่มเครื่องดนตรีครบทุกประเภท มีทั้งหมด ๔ กลุ่ม คือ
กลุ่มเครื่องสาย (strinng instruments)
กลุ่มเครื่องลมไม้ (woodwind instmluents)
กล่มเครื่องทองเหลือง (brass instlmments)
กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ (percussion instmnents)
ขนาดของวงมีหลายลักษณะ ดังนี้
วงขนาดเล็ก (small orchestra) มีจำนวนผู้เล่นประมาณ ๔๐-๖๐ คน
วงขนาดกลาง (medium orchestra) มีจำนวนผู้เล่นประมาณ ๖๐-๘๐ คน
วงขนาดใหญ (full orchestra) มีจำนวนผู้เล่นประมาณ ๘๐-๑๐๐ คน

                .๒ วงเชมเบอร์มิวสิก (chamber music) วงดนตรีเชมเบอร์นี้จัดเป็นการประสมวงดนตรีตะวันตกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ หรือในสมัยกลาง(middle age) เป็นต้นมา ในสมัยแรกๆ วงดนตรีประเภทนี้เหมาะสำหรับการบรรเลงในบ้านคฤหาสน์ของขุนนางหรือห้องที่สามารถจุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย ต่อมาได้จัดให้มีการแสดงในห้องโถงที่มีขนาดใหญ่และในที่สุดต้องเล่นในสังคีตสถานหรือคอนเสิร์ตฮอลล์ (concert hall)
วงเชมเบอร์มิวสิกมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามจำนวนของผู้บรรเลง ดังนี้
- ผู้บรรเลง ๒ คน เรียก ดูเอต (duet)
- ผู้บรรเลง ๓ คน เรียก ทรีโอ (trio)
- ผู้บรรเลง ๔ คน เรียก ควอเตต (quartet)
- ผู้บรรเลง ๕ คน เรียก ควินเตต (quintet)
- ผู้บรรเลง ๖ คน เรียก เซกซ์เตต (sextet)
- ผู้บรรเลง ๗ คน เรียก เซปเตต (septet)
- ผู้บรรเลง ๘ คน เรียก ออกเตต (octet)
- ผู้บรรเลง ๙ คน เรียก โนเนต (nonet)

                ในการเรียกชื่อวงเชมเบอร์มิวสิกนั้นยังมีประเพณีในการเรียกอีกอย่างคือ เรียกชื่อประเภทของเครื่องดนตรีก่อน แล้วตามด้วยเครื่องดนตรี เช่น สตริงควอเตต (string quartet) หมายถึง วงเชมเบอร์มิวสิกที่ประกอบด้วยเครื่องสาย ได้แก่ ไวโอลิน ๒ คัน วิโอลา ๑ คัน และเชลโล ๑ คัน

  (วงแบนด์ (band)
วงแบนด์เป็นลักษณะของการประสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของตะวันตก ที่มีเครื่งดนตรีกลุ่มเครื่องเปาเป็นหลัก และมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะบรรเลงร่วมกันการประสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้ดังนี้
                ๒.๑ วงคอนเสิร์ตแบนด์ (concert band) วงดนตรีชนิดนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยโรมันเป็นวงที่มีขนาดปานกลาง มีจำนวนนักดนตรีประมาณ ๓๐-๔๕ คน ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๓ กลุ่ม คือ
กลุ่มเครื่องลมไม้ (woodwind) ได้แก่ ฟลูต ปิกโกโล โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน และแซกโซโฟน
                กลุ่มเครื่องทองเหลือง (brass) ได้แก่ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต ทรอมโบน เฟรนช์ฮอร์นยูโฟเนียม และทูบา
กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (percussion) ได้แก่ ทิมพานี สแนร์ดรัม เบสดรัมและ ฉาบ

                วงคอนเสิร์ตแบนด์มักนั่งบรรเลง ซึ่งต้องมีผู้อำนวยเพลง (conductor) คอยควบคุมจังหวะและปรับความสมดุลของเพลงด้วย และวงลักษณะเช่นนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็นวงที่ใช้สำหรับเดินแถวสวนสนาม หรือแสดงการแปรแถวกลางแจ้ง เรียกว่าการแสดง “ดนตรีสนาม” (display)

                .๒ วงแตรวง (brass band) เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเพียง ๒ กลุ่มเท่านั้นคือ กลุ่มเครื่องทองเหลือง (brass) และกลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (pcrcussion) วงชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้เดินบรรเลงกลางแจ้ง เนื่องจากเป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่ให้เสียงทีมีความดัง สนุกสนานและในขณะเดินบรรเลง วงแตรวงจะต้องมีผู้ควบคุมแถวและจังหวะเดินนำหน้าขบวนเรียกว่า คทากรหรือดรัมเมเจอร์ (dmm major) นอกจากนี้วงแตรวงยังถือว่าเป็นต้นแบบของดนตรีแจ๊ซอีกด้วย

                .๓ วงแจ๊ซ (jazz band) การบรรเลงดนตรีแจ๊ซรูปแบบของวงค่อนข้างมีหลากหลาย ลักษณะทั่วไปจะเป็นการบรรเลงที่ใช้คนบรรเลงน้อย กลุ่มเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญสำหรับวงดนตรีแจ๊ซคือกลุ่มที่เรียกวา กลุมริทึม (rhythm section) ประกอบด้วย เปียโน กีตาร์ ดับเบิลเบส และกลองแจ๊ซ เป็นหลักนอกจากนั้นอาจใช้เครื่องเป่าเล่นบรรเลงเดี่ยว (solo) เล่นทำนอง ซึ่งนิยมใช้แซกโซโฟน หรือทรัมเป็ตร่วมบรรเลงประกอบ
วงดนตรีแจ๊ซที่ถือว่ามีรูปแบบที่สมบูรณ์ที่สุด เรียกชื่อทับศัพท์ว่า บิ๊กแบนด์ (big band)วงดนตรีประเภทนี้นอกจากจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีในกลุ่มริทึมแล้วยังประกอบด้วยกลุ่มเครื่องเป่าซึ่งมีลักษณะและจำนวนดังต่อไปนี้
- อัลโตแซกโซโฟน ๒ คัน
- เทเนอร์แซกโซโฟน ๒ คัน
- บาริโทนแซกโซโฟน ๑ คัน
- ทรัมเป็ต ๔ คัน
- ทรอมโบน ๓ คัน
- เบสทรอมโบน ๑ คัน

  
กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

ให้นักเรียนชมวีดิทัศน์การบรรเลงดนตรีไทยในแบบต่างๆ เช่น บทเพลงประเภทเพลงเถาเพลงสองชั้น เพลงสามชั้น
ให้นักเรียนชมวีดิทัศน์การบรรเลงดนตรีสากลในแบบต่างๆ เช่น วงซิมโฟนีออร์เคสตราการเล่นแบบดูเอต
เปิดเพลงที่มีเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิด คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครืองลมทองเหลืองให้นักเรียนฟัง อธิบายถึงความแตกต่างของเครื่องดนตรี
ให้นักเรียนทำรายงานหาความแตกต่างของเครื่องดนตรีตะวันตกกับเครื่องดนตรีไทย

๕. ให้นักเรียนเขียนบรรยายลักษณะของบทเพลงและเครื่องดนตรีที่ชื่นชอบ

ม.๔-๖ หน่วยที่ ๓ คุณค่าภูมิปัญญาไทย

ตอนที่ ๒ ดนตรีไทย
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ คุณค่าภูมิปัญญาไทย

ดนตรีไทยเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์และตัวตนของคนไทย ซึ่งได้ใช้ชีวิตเคียงคู่กับเสียงเพลงและดนตรีมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ดังนั้นดนตรีแต่ละสมัยจึงเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ถือเป็นคุณค่าภูมิปัญญาไทยที่ควรค่าแก่การรักษาและสืบทอดให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน

สาระการเรียนรู้
๑. ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
๒. ลักษณะดนตรีพื้นบ้านในภาคต่างๆ ของไทย
๓. ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในวงการดนตรีไทย

กิจกรรมฝึกทักษะที่ควรเพิ่มให้นักเรียน
๑. อธิบายประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยได้
๒. เปรียบเทียบลักษณะดนตรีพื้นบ้านในภาคต่างๆ ของไทยได้
๓. รู้จักประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในวงการดนตรีไทย
  

ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย

                ดนตรีไทย เป็นมรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย และเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงถึงเอกลักณ์ความเป็นไทยอย่างสมบูรณ์แบบ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการดนตรีของไทยมีการพัฒนาไปตามสภาพแวดล้อม สังคม และค่านิยมของผู้คนในแต่ละสมัย โดยในระยะเริ่มแรกมีการรับวัฒนธรรมดนตรีของชนชาติอื่นเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมดนตรีไทย จุดประสงค์เพื่อใช้ในงานพระราชประเพณีซึ่งมีศาสนาเป็นตัวเชื่อม และมีวังเป็นศูนย์กลางถ่ายทอดมาสู่ประชาชน
การศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยโดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของไทยนอกจากจะได้ความภาคภูมิใจในความเป็นชาติแล้ว เรายังได้ทราบถึงแนวคิดในการสร้างงานดนตรีที่เกิดขึ้นและเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ผลงานในอดีต รวมทั้งการคาดเดาถึงแนวโน้มของดนตรีไทยในอนาคตด้วยการแบ่งประวัติศาสตร์ดนตรีไทยออกเป็นสมัยๆ ก็เพื่อสะดวกในการกล่าวถึง โดยประวัติความเป็นมาของดนตรีไทยสามารถแบ่งออกเป็นสมัยต่างๆ ดังนี้

สมัยสุโขทัย (ราว พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๐๐)
                ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีนับเป็นสมัยการเริ่มต้นของประวัตศาสตร์ไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น และได้จารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในหลักศิลาจารึก และจากหลักศิลาจารึกนี้เองที่ทำให้เราได้ทราบถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดี ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งว่า “เสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อนเสียงขับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในสมัยสุโขทัยได้มีการนำดนตรีมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ จนต้องบันทึกไว้ในหลักศิลา และในหลักศิลาจารึกในสมัยสุโขทัยยังกล่าวถึงเครื่องดนตรีไว้มากมาย เช่น พิณ(อาจหมายถึง กระจับปี่ หรือพิณน้ำเต้าฆ้องระฆัง กังสดาล มโหระทึก กลองใหญ่ กลองรวมกลองเล็ก ฉิ่ง วงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยนี้ได้แก่
๑. วงขับไม้ ประกอบด้วย ซอสามสาย บัณเฑาะว์ และคนขับร้อง
วงปี่พาทย์ ประกอบด้วย ปี่ ระนาด ฆ้องวง กลองสองหน้า และฉิ่ง
วงประโคม แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่

                ๓.๑ วงประโคมในงานเสด็จออกขุนนาง และในการเสด็จพระราชดำเนินกระบวนน้อย ประกอบด้วย แตร และกลองมโหระทึก
๓.๒ วงประโคมในงานเสด็จพระราชดำเนินในขบวนพยุหยาตรา เรียกว่า “แตรสังข์กลองชนะ” ประกอบด้วย สังข์ แตรงอน ปี่ชวา กลองเปิงมางหรือสองหน้า และกลองชนะ
สำหรับเพลงไทยที่ปรากฏในสมัยนี้ เช่น เพลงเทพทอง หรือที่เรียกว่า เพลงสุโขทัย ซึ่งถือเป็นเพลงพื้นเมืองที่เก่าแก่ที่สุด

สมัยอยุธยา (.๑๘๙๓-๒๓๑๐)
ดนตรีไทยในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่ยังคงได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย แต่ได้มีการพัฒนาซึ่งพบว่ามีเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นหลายชนิด ทำให้เครื่องดนตรีในสมัยอยุธยานี้มีครบทุกประเภทคือ ดีด สี ตี เป่า เช่น กระจับปี่ จะเข้ พิณน้ำเต้า ซอต่างๆ กรับคู่ กรับเสภา ระนาดเอก ฆ้อง โทน กลองทัด ปี่ใน ขลุ่ย แตรงอน แตรสังข์
                วงปี่พาทย์ในสมัยอยุธยา ยังคงเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา เพื่อใช้สำหรับประกอบการแสดงละครมโนราห์ หรือละครชาตรีของชาวใต้ และวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนักสำหรับบรรเลงประกอบการแสดงละครนอกและละครใน ซึ่งเดิมนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ต่อมาละครนอกและละครในนี้ต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ และเพลงร้องที่มีท่วงทำนองรวดเร็วตามเรื่องราว จึงต้องเปลี่ยนจากปี่พาทย์อย่างเบา เป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก และด้วยความเจริญทางด้านดนตรีไทยในสมัยนี้จึงทำให้ชาวบ้านนิยมเล่นดนตรีกันมาก จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑ต้องประกาศกฎมณเฑียรบาลว่า ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี ดีดจะเข้ ตีโทนทับในเขตพระราชฐาน
                บทเพลงมีทั้งเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง บทร้องเป็นเพลงกาพย์คล้ายบทกลอนกล่อมเด็กต่อมาพัฒนาเป็นบทดอกสร้อย และกลอนแปด มีการเล่านิทาน หรือเล่าเรื่องที่เรียกว่า การขับเสภาส่วนบทเพลงบรรเลงมีทั้งเพลงเกร็ด เพลงเรื่อง เพลงหน้าพาทย์ เพลงภาษา ซึ่งอัตราจังหวะส่วนใหญ่เป็นอัตราจังหวะสองชั้น

สมัยรัตนโกสินทร์
ดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องมาจากดนตรีสมัยอยุธยา ซึ่งสามารถแยกกล่าวในแต่ละช่วงของแต่ละรัชกาลได้ ดังนี้
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (.๒๓๒๕-๒๓๕๒) พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม โดยทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ และเรื่องดาหลังให้สมบูรณ์ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยธยา วรรณคดีทั้งสองเรื่องนี้ใช้ในการแสดงโขนและละครจึงนับเป็นรากฐานอันสำคัญที่ทำให้บทเพลงต่างๆ ในอดีตถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง เพราะละครไทยนั้นต้องอาศัยเพลงบรรเลงประกอบการแสดงนอกจากนี้มีการเพิ่มกลองทัดในวงปี่พาทย์ขึ้นอีกหนึ่งลูกรวมเป็นสองลูก เสียงสูงลูกหนึ่ง เรียกว่าตัวผู้” เสียงต่ำอีกหนึ่งลูกเรียกว่า “ตัวเมีย

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (.๒๓๕๒-๒๓๖๗) ทรงเป็นทั้งนักดนตรีและดุริยกวี พระองค์ทรงส่งเสริมด้านวรรณคดีและการละคร พระองค์สามารถทรงซอสามสายได้อย่างไพเราะยิ่ง (ซอสามสายของพระองค์มีนามว่าซอ สายฟ้าฟาด”) พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร
                ในสมัยนี้การขับเสภาเล่านิทานนั้นเฟื่องฟูมากโดยเฉพาะวรรณคดีพื้นบ้าน เรื่องขุนช้างขุนแผนซึ่งแต่เดิมการขับเสภามีเพียงกรับเสภาคู่หนึ่ง และผู้ขับเสภาต้องทำหน้าที่ขยับกรับพร้อมๆ กับการขับเสภาไปด้วย พระองค์จึงโปรดให้นำวงปี่พาทย์มาบรรเลงประกอบการขับเสภา เริ่มแรก
เป็นการบรรเลงสอดแทรกการขับเล่าเรื่อง ต่อมาภายหลังได้ลดบทบาทของผู้ขับเสภา และการขับเล่าเรื่องคงเหลือแต่การร้องส่งเป็นบทเพลง และเนื่องจากเสียงตะโพนที่ใช้อยู่ในวงมีเสียงดังมากไม่เหมาะกับการร้อง จึงมีผู้นำเปิงมางมาถ่วงด้วยขี้เถ้าบดกับข้าวสุกมาปะไว้ที่หนังกลองเพื่อให้มีเสียงต่ำลงเกิดเป็นกลองสองหน้า ใช้ตีหน้าทับแทนตะโพนและกลองทัดวงปี่พาทย์เสภาจึงประกอบไปด้วยปี่ใน ระนาด ฆ้องวงกลองสองหน้า และฉิ่งถือเป็นประเพณีต่อมาจนถึงปัจจุบัน
           
                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (.๒๓๖๗-๒๓๙๔) ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการประดิษฐ์ “ระนาดทุ้ม” ขึ้น เพื่อใช้บรรเลงคู่กับระนาดเอก โดยลูกระนาดจะมีขนาดใหญกว่าเพื่อให้เกิดเสียงทุ้มต่ำ ในการบรรเลงระนาดทุ้มจะมีลักษณะลีลาการเล่นที่หยอกล้อไปกับระนาดเอก
เครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยนี้คือฆ้องวงเล็กซึ่งมีขนาดเล็กกว่าฆ้องวงใหญ่ โดยมีจานวนลูกฆ้องถึง๑๘ ลูก ในขณะที่ฆ้องวงใหญ่มีเพียง ๑๖ ลูก
นอกจากมีการเพิ่มเครื่องดนตรีแล้ว “ครูมีแขกซึ่งเป็นครูดนตรีในสมัยนั้นได้แต่งเพลงโดยขยายจากเพลงสองชั้นเดิมเป็นอัตราสามชั้น สำหรับใช้ในการบรรเลงและขับร้อง เช่น เพลงแขกมอญ เพลงการเวกและได้เกิดเพลงสำเนียงภาษาตางๆ มากขึ้น เนื่องจากเริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายมากขึ๊น

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจัาอยู่หัว (.๒๓๙๔-๒๔๑๑) ใน พ.๒๓๙๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกพระราชกำหนดที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีละครหญิง นอกจากพระมหากษัตริย์ ทำให้บรรดาเจ้าของละครต่าง ๆ ฝึกผู้หญิงขึ้นเป็นตัวละครละครชายจึงซบเซาลง บ้านใดที่มีข้าทาสบริวารที่เป็นผู้ชายก็หันไปฝึกปี่พาทย์กัน ทำให้เกิดวงปีพาทย์เพิ่มขึ้น เจ้านายชั้นสูง พระราซวงศ์ ตลอดจนขุนนางที่นิยมดนตรีต่างก็มีวงดนตรีประจำวังของตนทำให้มีการประกวดประชันกันขึ้น
                พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนการดนตรีทั้งดนตรีแบบแผนและดนตรีพื้นบ้านอีสาน วงปี่พาทย์วังหน้าของพระองค์มีคูรมีแขกเป็นผู้ควบคุมการฝึกสอน และพระราชทานยศแต่งตั้งครูมีเเขกซึ่งเป็นสามัญชนให้มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ภายหลังหลวงประดิษฐ์ไพเราะได้แต่งเพลง “เชิดจีน” ขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเพลงที่มีความแปลกไพเราะอย่างมาก พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระประดิษฐ์ไพเราะ ซึ่งท่านได้แต่งเพลงอัตราสามชั้นสำหรับวงปี่พาทย์วังหน้าบรรเลงไว้เป็นจำนวนมากจนได้สมญานามว่า เจ้าแห่งทยอย
                ในสมัยนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กเข้าประสมวงเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ นอกจากนั้นวงเครื่องเป่าของดนตรีตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทในการฝึกหัดแเถวทหารเพื่อการสวนสนาม โดยมีครูฝึกดนตรีต่างชาติเข้ามาทำการสอน

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูพัว (พ ศ๒๔๑๑-๒๔๕๓) ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการคิดวิธีประสมวงดนตรีขึ้นใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง คือ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นพระดำริของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงปรับปรุงขึ้นเพื่อประกอบการแสดงที่ท่านเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ได้ปรับปรุงขึ้น คือ ละครดึกดำบรรพ์ซึ่งดัดแปลงมาจากละครโอเปรา ในการนี้ได้เกิดเครื่องดนตรีขึ้นใหม่คือ กลองตะโพน (ใช้ ๒ ใบตั้งตีแทนกลองทัด โดยตีด้วยไม้นวมเพื่อให้เกิดเสียงตำทุ้ม ไม่กังวานมาก เหมาะสำหรับการแสดงละคร ดึกดำบรรพ์

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พศ๒๔๕๓-๒๔๖๘พระองค์โปรดการดนตรีเป็นอย่างมากทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ บทละครชนิดต่าง ๆ รวมทั้งบทละครแบบตะวันตกทรงจัดตั้งกรมมหรสพแยกจากกรมโขนหลวง ทรงจัดตั้งกรมพิณพาทย์หลวง ดูแลเรื่องของปี่พาทย์เครื่องสาย และกลองแขกปี่ชวา เพื่อใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธีต่างๆ โดยมีวงปี่พาทย์วงหนึ่งสาหรับตามเสด็จ เรียกว่า วงข้าหลวงเดิม” ต่อมาเรียกว่า “วงตามเสด็จ” ในสมัยนี้การละครและการดนตรีมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ถือได้ว่าเป็นยุคทองของดนตรีไทย ตามวังของเจ้านายและคหบดีต่างก็มีวงปี่พาทย์และครูที่มีภูมิรู้อยู่ประจำวง เกิดการพัฒนาวิชาการดนตรี ทั้งแนวคิด หลักการวัธีการ ตลอดจนเทคนิคการประพันธ์ มีการวางระบบการบรรเลงหลากหลายวิธี ทั้งแบบพื้นฐานการบรรเลงชั้นสูง และการบรรเลงเดี่ยว
                นักดนตรีและดุริยกวีที่โดดเด่นในรัชกาลนี้ เช่นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ทูลกระหม่อมบริพัตรหลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศรศิลปบรรเลงจางวางทั่ว พาทยโกศล พระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์พระเพลงไพเราะ (โสม สวาทิตและในสมัยนี้ได้มีการก่อตั้งกองเครื่องสายฝรั่งหลวง ซึ่งเป็นวงดนตรีสากลโดยผู้วางรากฐานสำคัญของการพัฒนาดนตรีสากลในรัชกาลนี้คือ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร)
                ๗รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(.๒๔๖๘-๒๔๗๗) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาวิชาการดนตรีจนมีพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรี และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยไว้ ๓ เพลง คือเพลงราตรีประดับดาว เถา เพลงเขมรลออองค์ เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น
                ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงริเริ่มให้มีการบันทึกโน้ตเพลงไทยในรูปแบบโน้ตสากล โดยบันทึกเป็นแนวทางของวงปี่พาทย์ มีแนวปี่ในระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอกเหล็กดะโพนกลอง และฉิ่ง และต่อมามีการบันทึกแผ่นเสียงคลั่งเพลงไทยจากฝีมือการบรรเลงของนักดนตรีที่มีชื่อเสีองอยู่ในขณะนั้นออกมาเป็นจำนวนมาก เช่น หลวงกล่อมโกศลศัพท์(จอน สุนทรเกศ)หลวงเพราะสำเนียง (ศุข ศุขวาทีวงพิณพาทย์ วังบางขุนพรหม
                ๘. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (..๒๔๗๗-๒๔๘๙)ในพ..๒๔๗๙ได้มีการเปิดโรงเรียนสอนดนตรีและนาฏศิลป์ไทยของราชการแห่งแรกคือ โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ขึ้นกับกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันคือวิทยาลัยนาฏศิลปซึ่งก่อตั้งโดยพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ขณะเดียวกันกรมศิลปากรได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบบทเพลงเพื่อบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นโน้ตสากลต่อจากที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงทำไว้
                ในรัชสมัยของพระองค์ถือได้ว่าเป็นยุคที่วงการดนตรีไทยอยู่ในภาวะตกต่ำ รัฐบาลไม่สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมดนตรีไทย เกิดนโยบายรัฐนิยมปรับปรุงประเทศไทยไปสู่อารยประเทศ มีการควบคุมการบรรเลงดนตรีไทยและต่อมานักดนตรีต้องมีใบอนุญาตในการเล่นดนตรี
                ๙. รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช(..๒๔๘๙-ปัจจุบัน)พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วงดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงมาบรรเลงบันทึกเสียง ออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุ อสพระราชวังดุสิตเป็นประจำ เช่น วงดนตรีคณะศรทองของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลงคณะพาทย์โกศล วงดนตรีของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลงวงของนายมนตรี ตราโมท มีการนำทำนองเพลงพื้นเมือง หรือเพลงไทยสองชั้น ชั้นเดียว มาใส่เนื้อร้องใหม่แบบเนื้อเต็มตามทำนอง เกิดเป็นเพลงประเภทลูกทุ่ง ลูกกรุงขึ้น
                ในด้านการเรียนการสอนดนตรีได้รับการส่งเสริมให้เข้าสู่ระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศทั้งในระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา มีการก่อตั้งชุมนุมดนตรีไทยในสถาบันการศึกษาต่างๆ และจัดให้มีการประกวดวงดนตรีไทยขึ้นในระดับต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
                ใน พ.๒๕๒๘ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเริ่มต้นการประกาศยกย่องศิลปินแห่งชาติในสาขาศิลปะการแสดงดนตรีไทย ในขณะเดียวกันศิลปินรุ่นใหม่มีการพัฒนาดนตรีไทยในแนวทางร่วมสมัย เช่นการประสมวงที่มีเครื่องดนตรีไทยกับเครื่องดนตรีตะวันตก การใช้เทคโนโลยีการบันทึกเสียงสร้างมิติเสียงใหม่ๆ ให้แก่วงการดนตรีไทย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ศิลปวัฒนธรรมดนตรีทีสำคัญยิ่ง พระองค์มีพระปรีชาสามารถในทางการบรรเลงดนตรีไทยและขับร้องตลอดจนพระราชนิพนธ์เนื้อร้องสำหรับนำไปบรรจุเพลงต่างๆ ดังผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น เพลงไทยดำเนินดอย เพลงเต่าเห่ เพลงชื่นชุมนุมกลุมดนตรีรวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปร่วมงานมหกรรมดนตรีไทยต่างๆ งานแสดงดนตรีไทยครั้งสำคัญๆ งานพิธีไหว้ครูดนตรีไทย และงานพระราชทานศิลปินแห่งชาติให้แก่ศิลปินดนตรีไทยและศิลปินด้านอื่นๆ


ลักษณะดนตรีพื้นบ้านในภาคต่างๆ ของไทย

                ดนตรีพื้นบ้านหรือเพลงพื้นบ้านเป็นดนตรีที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ของศิลปะการแสดงเฉพาะถิ่นซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีบทบาทอยู่เฉพาะวิถีชีวิตของสังคมและวัฒนธรรมนั้นๆ โดยทั่วไปในประเทศไทยสามารถจำแนกความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างกว้างๆ ได้ ดังนี้

(๑) ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ
                ดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ เรียกรวมๆ ว่าเป็นดนตรี “ล้านนา” ซึ่งดินแดนล้านนานี้มีจังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของภาค มีเครื่องดนตรีพื้นบ้านที่หลากหลาย ลักษณะของการแสดงนิยมเรียกกันว่า “ซอ” ซึ่งซอในที่นี้มิได้หมายถึงชื่อของเครื่องดนตรี แต่เป็นวิธีขับร้องแบบพื้นบ้านลักษณะหนึ่งของล้านนา ส่วนมากมักประสมกับดนตรีพื้นบ้าน ลักษณะการร้องของล้านนามีหลายแบบ เช่นจ๊อย ค่าวฮ่ำ หรืออื่อ สำหรับดนตรีที่ใช้ประกอบการซอ นิยมใช้วงดนตรีที่เรียกกันว่าวงซอพื้นเมืองหรือวงปี่ซอ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “วงสะล้อซอซึง” อันเป็นวงดนตรีของล้านนาไทยโดยเฉพาะ วงซอพื้นเมืองของภาคเหนือประกอบด้วย ปี่ซอ ๓ เลา ได้แก่ ปี่แม่ ปี่กลาง และปี่ก้อย รวมเรียกกันว่าปี่ชุมหรือปี่จุม และยังมีซึง สะล้อ สวนเครื่องประกอบจังหวะอาจมีฉิ่ง กลอง หรือไม่มีก็ได้
                สำหรับท่วงทำนองของเพลงที่บรรเลงโดยวงดนตรีล้านนานี้มีลักษณะที่ค่อนข้างช้า ฟังแล้วรู้สึกถึงธรรมชาติและบรรยากาศของภาคเหนือที่มีลักษณะที่สดชื่น เยือกเย็น

(๒) ดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง
 ดนตรีพื้นบ้านภาคกลางของไทย จะเน้นถึงบทเพลงขับร้องซึ่งมีมากมายหลายลีลาที่แตกต่างกันไป เช่น เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงเรื่องเพลงเหล่านี้สามารถขับร้องโดยไม่ต้องมีดนตรีประกอบแต่หากพูดถึงวงดนตรีพื้นบ้านของภาคกลางก็มีการแสดงของวงดนตรีประเภทหนึ่งที่ปัจจุบันเป็นที่รู้จัก และเล่นกันอย่างแพร่หลายในทุกๆ ภาคของประเทศไทย ได้แก่ วงกลองยาว ลักษณะของวงกลองยาวนี้ประกอบด้วยกลองเอก หรือกลองนำ จำนวน ๑ ใบ ทำหน้าที่เป็นตัวนำเพลง เปลี่ยนกลองเพลงหรือนำจบเพลง และมีกลองตีตามซึ่งไม่จำกัดจำนวนทำหน้าที่ตีตามเพลงกลอง มีโหม่งทำหน้าที่ตีกำกับจังหวะหลัก หรือตั้งจังหวะให้กับกลองเอก มีฉาบเล็ก หรือฉาบกรอตีจังหวะขัดเพิ่มความสนุกสนานให้กับบทเพลง นอกจากนั้นยังมีฉิ่ง และกลับตีเสริมจังหวะอีกด้วย ในบางครั้งการบรรเลงเพลงกลองยาวจะมีการร้องประกอบการตีกลองยาว โดยผู้ตีจะเป็นผู้ร่วมกันร้อง และมีการรำประกอบ ลักษณะของเพลงในภาคกลางจะเน้นความสนุกสนานครื้นเครงเป็นหลัก



(๓) ดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน เป็นดนตรีพื้นบ้านที่แพร่หลายอย่างมากมีวงดนตรีที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ วงโปงลาง และเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญที่สุด คือ แคนเนื่องจากแคนสามารถบรรเลงทำนอง และประสานเสียงได้ภายในเครื่องเดียวกัน เสียงแคนจึงมีความไพเราะสมบูรณ์ เป็นที่น่าสังเกตว่าลักษณะเสียงดนตรีที่บรรเลงโดยแคนส่วนมากจะเป็นลักษณะของบันไดเสียงที่เป็นไมเนอร์ ซึ่งเป็นเสียงที่ค่อนข้างเศร้ารวมถึงเครื่องดนตรีชนิดอื่นด้วยเช่นโหวต แต่เมื่อนำมาบรรเลงในวงโปงลาง กลับให้ความรู้สึกสนุกสนานครื้นเครงถึงกับมีผู้กล่าวว่าดนตรีอีสานมีความสนุกสนานแต่แฝงไปด้วยความเศร้าแห้งแล้ง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของดนตรีในภาคนี้

(๔) ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้
                ชื่อเพลงต่างๆ ของชาวใต้มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น กำพรัด เพลงหนังตะลุง เพลงบอก หรือเพลงมโหราห์ ซึ่งถึงแม้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน แต่ทำนองของเพลงเหล่านั้นจะเหมือนกันหมดความแตกต่างอยู่ที่บทร้อง หรือกลอนเพลง ลีลาของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้มีจังหวะกระชั้น หนักแน่นเฉียบขาด เร้ารุกมากก่วาความอ่อนหวาน เนิบช้าลีลาเช่นนี้สอดคล้องกับลักษณะนิสัยทั่วไปของชาวใต้ที่บึกบึน หนักแน่น เด็ดขาด และค่อนข้างแข็งกร้าวสำหรับวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการขับร้องคือวงปี่พาทย์อย่างเบาหรือวงหนังตะลุง ประกอบด้วยกลองตุ๊ก ทับ ฆ้องคู่ ปี่ และฉิ่ง



ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในวงการดนตรีไทย

                ผลงานหรือบทเพลงไทยที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่มีคุณค่า อันเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้น จากครูเพลงหลายต่อหลายคน ซึ่งในบทนี้จะขอนำเสนอประวัติและผลงานของครูดนตรีไทยบางคนดังนี้



พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร)
                พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูรหรือที่รู้จักกันทั่วไปในสมญา “ครูมีแขก” ครูมีแขกมีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงต้นรัชกาลที่ ๕ สถานที่เกิดคือบริเวณสุเหร่ากุฎีขาวใกล้วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี ครูมีแขกมีบุตรชื่อว่าครูถึก ดุริยางกูร ซึ่งสามารถสีซอด้วงได้ไพเราะมาก
ไม่มีบันทึกใดๆ ว่าครูมีแขกเรียนดนตรีมาจากใคร แต่มักกล่าวกันต่อๆ มาว่าท่านสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด แต่ที่ได้รับการยกย่องเป็นพิเศษคือ ปี่และซอสามสาย ท่านรับราชการในตำแหน่งจางวางมหาดเล็กเป็นครูและหัวหน้าวงปี่พาทย์วังหน้าของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาเป็นนครูมโหรีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร นอกจากนั้นยังมีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น คูรสิน ศิลปบรรเลง ครูรอดพระยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี(ตาด อมาตยกลครูต้ม พาทยกุล ครูแดง พาทยกุล
                ครูมีแขกได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับการแต่งเพลงทีมีลูกล้อลูกขัดหรือประเภท “เพลงทยอย” ท่านได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมากสำหรับเพลงที่โดดเด่นที่สุดของท่าน คือ เพลงเชิดจีน ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ พ..๒๓๙๖ และได้รับพระราชทานราชทินนามเลื่อนตำแหน่งจาก “หลวงประดิษฐ์ไพเราะ” เป็น “พระประดิษฐ์ ไพเราะ” จากการแต่ง เพลง นี้

ผลงานเพลง
·       ประเภทเพลงทยอย เช่น เพลงเชิดจีน ทยอยนอก ทยอยเขมร
·       ประเภทเพลงสามชั้น เช่น แป๊ะ สารถี อาเฮีย จีนขิมเล็ก จีนขิมใหญ่
·       ประเภทเพลงเถา เช่น เพลงแขกบรเทศ เถา เพลงดวงพระธาตุ เถา
·       ประเภทเพลงโหมโรง เช่น โหมโรงขวัญเมือง



พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
พระยาประสานดุริยศัพท์ เดิมชื่อครูแปลก เกิดเมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.๒๔๐๓ เป็นบุตรของขุนกนกเลขา (ทองดีกับครูนิ่ม ชาวกรุงเทพมหานคร ภรรยาชื่อพะยอม มีบุตรและธิดาด้วยกันรวม๑๑ คน และบุตรที่เป็นนักดนตรีคือ ขุนบรรจงทุ้มเลิศ (ปลั่ง ประสานศัพท์มีน้องชายชื่อพระพิณบรรเลงราช(แย้ม ประสานศัพท์เป็นนักดนตรีเช่นกัน
                พระยาประสานดุริยศัพท์เรียนปี่ชวากับครูหนูดำ เรียนปี่พาทย์กับครูช้อย สุนทรวาทิน จนกระทั่งมีฝีมือดีและรับราชการที่กระทรวงนครบาล แล้วเป็นมหาดเล็กเรือนนอกในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ประจำวงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เป็นผู้เป่าปี่ประจำวงปี่พาทย์ฤๅษี ซึ่ง เป็นวงปี่พาทย์พิเศษในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่โปรดให้บรรเลงหน้าพระที่นั่งอยู่เสมอ
                พระยาประสานดุริยศัพท์เป็นผู้เชี่ยวชาญการบรรเลงเครื่องดนตรีทุกชนิด ก็ได้รับการยกย่องเป็นพิเศษก็คือ ปี่ขลุ่ย และระนาดเอก ความสามารถทางดนตรีของท่านนับได้ว่าเป็นเลิศทางฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณไหวพริบ ความเป็นครูและความเป็นศิลปิน ท่านไดรับพระราชทานนามสกุลประสานศัพท์จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ๒๔๕๖

ผลงาน เพลง
-          ประเภทเพลงเถา เช่น เขมรปากท่อ เถา เพลงประพาสเภตรา เถา เพลงอาถรรพ์ เถา เพลงสามไม้ใน เถา
-          ประเภทเพลงสามชั้น เช่น เพลงเขมรใหญ่ เพลงดอกไม้ไทร เพลงถอนสมอ เพลง ทองย่อน เพลงเทพรัญจวน เพลงนารายณ์แปลงรูป เพลงคุณลุงคุณป้า เพลงพราหมณ์เข้าโบสถ์ เพลงธรณีร้องไห้ เพลงแขกเห่ เพลงอนงค์สุชาดา เพลงย่องหงิด เพลงเขมรราชบรี เพลงพม่าห้าท่อน
-          ประเภทเพลงสองชั้น เช่น เพลงลาวคำหอม เพลงลาวดำเนินทราย


สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
จอมพลเรือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือบรรดานักดนดรีไทยนิยมเรียกขานพระนามว่าทูลกระหม่อมบริพัตร” ประสูติเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๔เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัากับสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีเสกสมรสกับหม่อมเจ้าประสงค์สม (ราชสกุลเดิม ไชยันต์)มีพระโอรสและพระธิดารวม ๘ พระองค์ และมีพระโอรสพระธิดากับหม่อมสมพันธุ์ (สกุลเดิม ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา๒ องค์และทรงเป็นต้นแห่งราชสกุล “บริพัตร
ทูลกระหม่อมบริพัตรทรงสีซอได้ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ต่อมา ทรงต่อเพลงกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ จนมีฝีพระหัตถ์ดีเยี่ยม และทรงต่อเพลงกับเจ้าเทพกัญญาบูรณพิมพ์เป็นครั้งคราว ทรงเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ ระนาด อีกทั้งยังทรงเปียโนได้ดีอีกด้วย
เมื่อพระองค์เสด็จมาประทับที่วังบางขุนพรหมทรงมีทั้งวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายประจำวัง วงปี่พาทย์นั้นแรกเริ่มทรงใช้วงดนตรีมหาดเล็กเรือนนอก ซึ่งเป็นของตระกูลนิลวงศ์จากอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีครูปาน นิลวงศ์ เป็นหัวหน้าวง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงเช่น ครูปน นิลวงศ์ ครูลวด นิลวงศ์ ต่อมาทรงได้วงดนตรีสำนักวัดกัลป์ยาณ์ของหลวงกัลยาณมิตตาวาส(ทับ พาทย์โกศลและจางวางทั่ว พาทยโกศล ซึ่งมีนักดนตรีและนักร้องที่มีชื่อเสียงประจำวง เช่นครูทรัพย์ เซ็นพานิช ครูฉัตร สุนทรวาทิน
                ในช่วงรัชกาลที่ ๖-๗ ยังบางขุนพรหมได้เป็นศูนย์กลางการประชันวงปี่พาทย์ การแสดงดนดรีและการละเล่นต่างๆ ในขณะนั้นวงปี่พาทย์วังบางขุนพรหมเป็นวงที่มีชื่อเสียงมากได้เข้าร่วมการประชันวงที่วังบางขุนพรหมเมื่อ พ.๒๔๖๖ และได้รับรางวัลชนะเลิศ เป็นต้นตำหรับการขับร้องที่สืบทอดมาแต่โบราณ และเป็นที่เกิดของบทเพลงที่มีชื่อเสียง เช่น เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถา เพลงแขกสาย เถาเพลงเทวาประสิทธิ์ เถา นอกจากนั้นทูลกระหม่อมบริพัตรยังทรงพระนิพนธ์เพลงไทยประสานเสียงแบบเพลงสากล เช่น เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า และทรงแยกเสียงประสานเพลงไทยสำหรับบรรเลงด้วยวงโยธวาทิต
                ทูลกระหม่อมบริพัตรทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นนักดนตรีและนักแต่งเพลงยอดเยี่ยมของกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่เรียนรู้และแต่งเพลงไทยสากล และทรงเป็นคนไทยคนแรกที่เรียนรู้และแต่งเพลงโดยวิธีการเขียนเป็นโน้ตสากล โดยแยกเสียงประสานถูกต้องตามหลักสากลนิยม

ผลงานเพลง
·       เพลงสำหรับแตรวง เช่น โหมโรงสะบัดสะบิ้ง เพลงเขมรใหญ่ เถา เพลงแขกมัสหรี เถาเพลงสี่เกลอ เถา (.๒๔๖๕)
·       เพลงสำหรับวงโยธวาทิตและปี่พาทย์ เช่น เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เถาเพลงพม่าห้าท่อน เถา เพลงแขกสาย เถา เพลงพวงร้อย เถา
·       เพลงสำหรับปี่พาทย์ เช่น เพลงเทวาประสิทธ์ เถา เพลงอาถรรพ์ เถา เพลงสมิงทองเทศเถา เพลงน้ำลอดใต้ทราย เถา เพลงนารายณ์แปลงรูป เถา เพลงจิ้งจกทอง เถา เพลงสุดถวิล เถา



หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลงเกิดเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.๒๔๒๔เป็นชาวตำบลคลองดาวดึงส์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นายศร ศิลปบรรเลง เป็นบุตรของครูปี่พาทย์ชื่อสิน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของครูมีแขก (พระประดิษฐ์ไพเราะ หรือ มี ดุริยางกูรมารดาชื่อนางยิ้ม ศิลปบรรเลง ซึ่งถือเป็นสายปี่พาทย์ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                เด็กชายศรเรียนดนตรีกับบิดาตั้งแต่อายุได้ ๕ ขวบ ด้วยบิดาเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ทำให้ศรได้ฟังเสียงปี่พาทย์ตั้งแต่เล็กๆ ครั้นเมื่ออายุได้ ๑๑ ขวบ ก็ได้ฝึกระนาดอย่างจริงจัง ครูสินได้ถ่ายทอดวิชาปี่พาทย์ให้ จนกระทั่งมีความสามารถในการประชันวง และใน พ.๒๔๔๓ขณะอายุได้ ๑๙ ปี นายศรได้มีโอกาสแสดงเดี่ยวระนาดเอกถวายสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช หรือ “สมเด็จวังบูรพา” ที่จังหวัดราชบุรี เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงรับตัวไปไว้ที่วังบูรพาภิรมย์ ในปีต่อมาก็ได้เป็นจางวางมหาดเล็กเรียกกันว่า “จางวางศร” ทำหน้าที่เป็นคนระนาดเอกประจำวังบูรพาภิรมย์
                เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ จางวางศรได้มีโอกาสตามเสด็จ และประพันธ์เพลงเขมรเลียบพระนครถวาย เป็นการประดิษฐ์ทางกรอขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นการทำเสียงระนาดให้ยาวขึ้นเนื่องจากระนาดเป็นเครื่องใช้ที่ทำเสียงยาวไม่ได้ โดยการกรอเป็นการรัวละเอียดเพื่อให้ระนาดเล่นเสียงยาว และในวันที่ ๑๗ กรกฎาคมพ.๒๔๖๘ จางวางศรจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ
                ในสมัยรัชกาลที่ ๗ พ.๒๔๖๙ หลวงประดิษฐไพเราะได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวง กระทรวงวัง ได้มีโอกาสถวายการสอนดนตรีแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีส่วนช่วยในงานพระราชนิพนธ์เพลงไทยหลายเพลง เช่น เพลงราตรีประดับดาว เถา เพลงเขมรละออองค์เถา เพลงคลื่นกระทบฝั่ง และใน พ.ศ๒๔๗๓-๒๔๗๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพทรงจัดให้มีการบันทึกโน้ตเพลงไทยขึ้น หลวงประดิษฐไพเราะได้ทำหน้าที่เป็นผู้บอกเพลงร่วมกับคูรดนตรีไทยหลายท่าน เช่น พระยาเสนาะดุริยางค์ จางวางทั่ว พาทยโกศล ขุนสมานเสียงประจักษ์ นายพิษณุแช่มบาง นายโลก เนตตะสูต นายมนตรี ตราโมท
                หลวงประดิษฐไพเราะได้ประพันธ์เพลงไว้เป็นจำนวนมากและมีหลายประเภทด้วยกัน ท่านได้ทำเพลงสี่ชั้นซึ่งถือว่าเป็นเพลงที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ที่สำคัญท่านเป็นผู้คิดเทคนิคการเล่นระนาดขึ้นใหม่เช่น การกรอ สะบัด ขยี้ รัว กวาด ซึ่งถือได้ว่าเป็นนการปฏิวัติวิธีการตีระนาดจากที่มีเพียงแค่แนวโขยกซึ่งเป็นวิธีโบราณซึ่งทำให้ระนาดมีบทบาทสำคัญในวงปี่พาทย์ด้วย

ผลงานเพลง
·       ประเภทเพลงโหมโรง เช่น โหมโรงกระแตไต่ไม้ โหมโรงปฐมดุสิต โหมโรงนางเยื้องโหมโรงศรทอง โหมโรงบางขุนนนท์ โหมโรงประชุมเทวราช โหมโรงม้าสะบัดกีบ โหมโรงบูเซ็นซอก
·       ประเภทเพลงเถา เช่น กระต่ายชมเดือน เถา ขอมทอง เถา เขมรปากท่อ เถาเขมรราชบุรี เถา แขกโอด เถา ครวญหา เถา จีนลั่น เถา ชมแสงจันทร์ เถา เต่าเห่ เถานกเขาขะแม เถา พราหมณ์ดีดน้าเต้า เถ้า มุส่ง เถา แมลงภู่ทอง เถา แสนคำนึง เถา
·       เพลงที่ชั้น เช่น แขกพราหมณ์ ดาวจระเข้ สุรินทราหู เขมรไทรโยค
·       เพลงทางเปลี่ยน เช่น เพลงช้าปี่ ดำเนินทราย ตามกวาง ทองย่อน พราหมณ์ดีดน้ำเต้า
·       สร้อยทอง นกจาก
·       เพลงสามชั้น เชน ดอกไม้ทอง ใบ้คลั่ง เทพรำพึง ฝรั่งรำเท้า ตับขะแมกอฮอม
·       ฝรั่งจรกา จีนนำเสด็จ



ครูมนตรี ตราโมท
ครูมนตรี ตราโมท มีนามเดิมว่า บุญธรรม เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.๒๔๔๓เป็นบุตรของนายยิ้มกับนางทองอยู่ เป็นชาวสุพรรณบุรี มีภรรยาคนแรกชื่อลิ้นจี่ (สกุลเดิม บุรานนท์)มีบุตรด้วยกัน ๒ คน ที่มีชื่อเสียงทางด้านดนตรีคือ ครูศิลปี ตราโมท ภรรยาคนที่ ๒ ชื่อพูนทรัพย์(สกุลเดิม นาฏประเสริฐมีบุตรธิดาด้วยกัน ๒ คน
                ครูมนตรี ตราโมท เริ่มเรียนปี่พาทย์กับครูสมบุญ นักฆ้อง ต่อมาเรียนระนาดเอก ฆ้องวงเหญ่ และเครื่องดนตรีสากล คือ คลาริเน็ต และหลักการแต่งเพลงกับครูสมบุญ สมสุวรรณ เรียนวิธีแต่งเพลงกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)และหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลงเรียนฆ้องวงใหญ่กับหลวงบำรุงจิตเจริญ (ธูป สาตนะวิลัยเรียนกลองแขกกับพระพิณบรรเลงราช (แย้ม ประสานศัพท์เรียนระนาดเอกกับพระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิตและหลวงชาญเชิงระนาด(เงิน ผลารักษ์เรียนระนาดทุ้มกับพระพาทย์บรรเลงรมย์(พิมพ์ วาทินและพระยาประสานดุริยศัพท์ เรียนเพลงองค์พระพิราพซึ่ง เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงสุดกับครูทองดี ชูสัตย์ อีกทั้งยังได้รับมอบให้ทำพิธีไหว้ครูจากหลวงประดิษฐไพเราะ และเรียนโน้ตสากลจากพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยกร) จนสามารถอ่านและเขียนโน้ตได้เป็นอย่างดี
ครูมนตรีรับราชการที่กรมพิณพาทย์หลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้บรรเลงระนาดทุ้มประจำวงข้าหลวงเดิม ต่อมาเมื่อมีการปรับเปลี่ยนระบบราชการในสมัยรัชกาลที่ ๗ จึงได้ย้ายไปสังกัดกรมศิลปากรจนเกษียณอายุราชการ และยังคงปฏิบัติราชการในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยจนถึงแก่อนิจกรรม
ครูมนตรี ตราโมท แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก และแต่งตำราทางวิชาการดนตรีไทย เช่นดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการศัพท์สังคีต ประวัติบทเพลงต่างๆ และบทความทางประวัติการดนตรีไทยไว้ จำนวนมาก

ผลงานเพลง
         ประเภทเพลงสามชั้น เช่น เพลงต้อยตริ่ง (แต่งรวมกับหมื่นประคมเพลงประสาน)เพลงเทไสยาสน์ เพลงจระเข้หางยาวทางสักวา เพลงเทพนม เพลงเขมรปีแล้วทางสักวาเพลงต้นเพลงยาว
      ประเภทเพลง้เถา เช่น เพลงพมาเห่ เถา เพลงกาเรียนทอง เถา เพลงของเงิน เถาเพลงแขกกุลิต เถา เพลงแขกต่อยหม้อ เถา เพลงโสมส่องแสง เถา เพลงรอมทรงเครื่อง เถาเพลงกล่อมนารี เถา
·       ประเภทเพลงโหมโรง เช่น โหมโรงขับไม้บัณเฑาะว์สามชั้น โหมโรงร้ตนโกสินทร์สาม ชั้น
·       ประเภทเพลงประวัติศาสตร์ เช่น เพลงไทยมุง เพลงฝั่งโขง เพลงสิบสองจุไทย
·       ประเภทเพลงระบำ เช่นระบาโบราณคดี ๕ ชุด (ระบำทวารวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรีระบำเชียงแสน ระบำสุโขทัยระบำนพรัตน์ ระบำม้า ระบำชุมนุมเผ่าไทย ฟ้อนดวงดอกไม้ฟ้อนม่านมงคล ซึ่งเพลงนี้ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำในฐานะผู้แต่งทานอง
·       ประเภทเพลงรำวงมาตรฐาน เช่น เพลงงามแสงเดือน เพลงรำซิมารำ เพลงชาวไทย
·       เพลงคืนเดือนหงาย เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ และเพลงดอกไม้ของชาติ



กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้

๑.      ให้นักเรียนชมวีดิทัศน์การบรรเลงดนตรีทั้งสี่ภาค
๒.    ให้นักเรียนทารายงานค้นคว้าเรื่องดนตรีสี่ภาคให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นหน้าชั้นเรียนในหัวข้อ “เหตุใดดนตรีไทยจึงไดรับความนิยมจากคนรุ่นใหม่น้อยลง


๓.     ให้นักเรียนสัมภาษณ์เพื่อนหรือครูในโรงเรียนที่เล่นดนตรีไทย ว่าเหตุใดจึงประทับใจในเครื่องดนตรีที่เล่น